สถานีชาร์จรถไฟฟ้า

ประเภทของ EV Charger

ภาพประกอบ mode 4

แบ่งออกเป็น 4 mode

Mode 1

การเชื่อมต่อชาร์จรถยนต์ ไฟฟ้า เป็นการเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ ผ่านเต้ารับไฟฟ้ามาตรฐานตามบ้านหรืออาคารโดยตรง กำหนดขนาดกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16 A และขนาดแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 250 Vac (สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส) และไม่เกิน 480 Vac (สำหรับระบบไฟฟ้า 3 เฟส) โดยแหล่งจ่ายไฟฟ้าต้องมีระบบ สายดินและอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน
(Circuit Breaker) และสายเคเบิลที่ใช้ต้องมีสายดินด้วยเช่นกัน

ภาพประกอบ mode 3

เนื่องจากการอัดประจุไฟฟ้า Mode 1 เป็นการเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้ากับเต้ารับไฟฟ้าตามบ้านหรือ อาคารโดยตรง โดยไม่มีอุปกรณ์อื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนั้น จึงไม่มีฟังก์ชันควบคุมการอัดประจุ (Control Pilot Function) อีกทั้งเต้ารับตามบ้านหรืออาคารหลายแห่งไม่มีระบบสายดิน จึงอาจเกิดอันตรายได้ต่อผู้ใช้งานได้ หากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วหรือลัดวงจร บางประเทศจึงห้ามใช้การอัดประจุไฟฟ้า Mode 1 เช่น สหรัฐอเมริกา

ภาพประกอบ mode 4


Mode 2

เป็นการเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับผ่านเต้ารับไฟฟ้ามาตรฐานตามบ้านหรืออาคารโดยตรง กำหนดขนาดกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 32 A และขนาดแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 250 Vac (สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส) และไม่เกิน 480 Vac (สำหรับระบบไฟฟ้า 3 เฟส) โดยแหล่งจ่ายไฟฟ้าต้องมีระบบ สายดินและอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน (Circuit Breaker) และสายเคเบิลที่ใช้ต้องมีสายดินด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ใน Mode 2 สายเคเบิลจะต้องมีฟังก์ชันควบคุมการอัดประจุ (Control Pilot Function) และ ระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว (Residual Current Device: RCD) ซึ่งอาจติดตั้งอยู่ภายในกล่องควบคุม ในสายเคเบิล (In-cable Control Box: ICCB) โดย ICCB จะต้องมีระยะห่างจาก Plug ไม่เกิน 0.3 เมตร หรือ ติดตั้งอยู่ภายใน Plug

Control Pilot Function มีหน้าที่ในการควบคุมการอัดประจุไฟฟ้าและตรวจสอบระบบป้องกันในระหว่างการอัดประจุไฟฟ้า เช่น ตรวจสอบว่าแหล่งจ่ายไฟฟ้ามีการต่อสายดินอยู่หรือไม่ หรือสั่งให้ลดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการอัดประจุเมื่อแบตเตอรี่เกิดความร้อนสูง เป็นต้น

โดย Control Pilot Function จะสื่อสารกับยานยนต์ไฟฟ้าโดยใช้สัญญาณการมอดูเลตความกว้างพัลส์ (Pulse Width Modulation: PWM)

รับงานติดตั้ง EV chaging station
งานปรับปรุงระบบไฟฟ้า
เพื่อรองรับ ระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ตามมาตรฐานวิศวกรรม การไฟฟ้า
โดยทีมงาน ช่างไฟดอทคอม
Line: @changfi
tel : 061 – 417- 5732

ที่ชาร์จรถไฟฟ้า


Mode 3

เป็นการเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ (เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า) ผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EVSE) เช่น สถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยที่ EVSE จะเชื่อมต่ออย่างถาวรกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ ขนาดกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าสูงสุดในการอัดประจุไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของเต้าเสียบและเต้ารับ และมาตรฐานของการอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้ การอัดประจุไฟฟ้า Mode 3 (เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า) เป็นรูปแบบที่เห็น

ทั่วไปในสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะที่สามารถจอดรถเป็นระยะเวลานานได้ เช่น ที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้า รวมถึงเครื่องอัดประจุไฟฟ้ารูปแบบ Wall Charge ในบ้านอยู่อาศัย

EVSE ของการอัดประจุไฟฟ้า Mode 3 (เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า) จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน เช่น อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน(Circuit Breaker) อุปกรณ์ป้องกันกระแสรั่ว (Earth Leakage Circuit Breaker) และอุปกรณ์สำหรับตัดต่อ

การจ่ายไฟฟ้า (Contactor) และต้องมีฟังก์ชันควบคุมการอัดประจุ (Control Pilot Function) เพื่อควบคุมการอัดประจุไฟฟ้าและตรวจสอบระบบป้องกันในระหว่างการอัดประจุไฟฟ้า เช่น ตรวจสอบว่าขณะนี้ยานยนต์ไฟฟ้าเชื่อมต่อกับ EVSE (เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า) อยู่หรือไม่ ตรวจสอบว่ามีการเชื่อมต่อระบบป้องกันอยู่หรือไม่ รวมทั้งการสื่อสารเพื่อควบคุมระดับกระแสไฟฟ้าในการอัดประจุ โดย Control Pilot Function จะสื่อสารกับยานยนต์ไฟฟ้าโดยใช้สัญญาณการมอดูเลตความกว้างพัลส์ (Pulse Width Modulation: PWM) เช่นเดียวกับ Mode 2

Mode 4

เป็นการเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับผ่านเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EVSE) เช่น สถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยที่ EVSE จะเชื่อมต่ออย่างถาวรกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ และมี Off-board Charger เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรงก่อนจ่ายเข้าสู่ยานยนต์ไฟฟ้า

ขนาดกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าสูงสุดในการอัดประจุไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของเต้าเสียบ และ เต้ารับ และมาตรฐานของการอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้ การใช้งานการอัดประจุไฟฟ้า Mode 4 ส่วนใหญ่จะอยู่ในสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะเท่านั้น

EVSE ของการอัดประจุไฟฟ้า Mode 4 จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเช่นเดียวกับ Mode 3 แต่การควบคุมการอัดประจุ และการสื่อสารกับยานยนต์ไฟฟ้าใน Mode 4 จะซับซ้อนกว่า Mode 3 มาก และมีรูปแบบของการควบคุมและการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของเต้าเสียบและเต้ารับ และมาตรฐานของการอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างสถานีอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรงกับยานยนต์ไฟฟ้าจะถูกกำหนดอยู่ในมาตรฐาน IEC 61851-23 และ IEC 61851-24      

รับงานติดตั้ง EV chaging station
งานปรับปรุงระบบไฟฟ้า
เพื่อรองรับ ระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ตามมาตรฐานวิศวกรรม การไฟฟ้า
โดยทีมงาน ช่างไฟดอทคอม
Line: @changfi
tel : 061 – 417- 5732

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *