ระบบไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน (สำหรับช่าง)

 เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เครื่องมือไฟฟ้ากลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของเราทุกคน เราไม่สามารถปฏิเสธไฟฟ้าได้ ถ้าน้ำประปาไมไหลนี้ยังพอหาน้ำมาใช้เป็นชั่วคราวได้ หรือไม่บ้านใครอยู่ใกล้แม่น้า ก็สามารถใช้กลยุทธ์ใดๆ นำน้ำขึ้นมาใช้ได้อย่างไม่เดือดร้อน แต่หากวันใดเราเกิดไม่มีไฟฟ้าใช้ขึ้นมา ย่อมไม่สามารถดำรงชีวิตได้เลย

       ไฟฟ้ากลายเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของมนุษย์ เพราะอุปกรณ์เครื่องมือช่างภายในบ้านกว่า 50% ต้องใช้ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟ  สว่าน ปั๊มน้ำ มอเตอร์ ปั๊มลม เครื่องเจียร แท่นคัด โต๊ะเลื่อย ฯลฯ เมื่อใดทีข้าวของเครื่องมือต่างๆนี้ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน กลไกการทำงานแล้ว หากไม่มีไฟฟ้า เครื่องมือช่างต่างๆที่อยู่รายล้อมตัวนั้น ก็ไม่สามารถใช้งานได้ จึงสามารถกล่าวได้ว่า ไม่มีใครสามารถปฏิเสธไฟฟ้าได้

         แต่หากเกิดเหตุขัดข้องขึ้นในระบบไฟฟ้าภายในบ้านเรือนของเราเอง ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องระบบไฟฟ้านี้ อันที่จริงแล้วถือเป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกิน หากเทียบกับปัญหาหลังคารั่ว เพราะหากฝนตกแล้วหลังคารั่วพบบ้านนองไปด้วยน้ำอย่างน่าเจ็บใจ เราผู้เป็นเจ้าของบ้าน หรือผู้อยู่อาศัย หรือผู้เช่า ยอมทำอะไรได้ไม่มากไปกว่าการหาหม้อหากะละมังมารองน้ำ ซึ่งการซ่อมแซมหลังคานี้ เราจำเป็นต้องจ้างช่างผู้ชำนาญและใช้เครื่องมือช่างสถานเดียว พร้อมด้วยช่างซ่อมฝ้าเพดานแน่นอน

           พวกเราหลายๆคนอาจเห็นไฟฟ้าเป็นสิ่งที่น่ากลัวเพราะไม่ว่าจะต่อมันตรงไหน ก็กลัวมันช้อต พลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากๆ ก็จริง แต่ก็ต้องยอมรับว่าพลังงานไฟฟ้านี้ ให้ประโยชน์ต่อเรามากมายมหาศาล แต่ว่าถ้าโดนไฟดูดไฟช็อต โดยมากถ้าไม่รอด มีแต่ม่องเท่งสถานเดียว เราจึงกลัวกันจนไม่อยากศึกษา ไม่อยากเข้าใจในระบบไฟฟ้า ขอเพียงแค่ได้ใช้ไฟฟ้าก็เพียงพอแล้วที่จริงแล้วพลังงานไฟฟ้าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด อีกทั้งไฟฟ้ายังไม่มีสมองควบคุมตัวเองด้วยซ้ำไป มันเพียงทำตามคำสั่ง และวิ่งไปบนเส้นทางที่มันวิ่งไปได้ตัวนำอยู่ที่ไหน เมื่อเสียบปลักหรือสับสวิตซ์เมื่อใด ไฟฟ้าย่อมวิ่งได้ทันทีเมื่อเกิดปัญหาไฟฟ้าขัดข้องแบบหยุมหยิมภายในบ้าน หรือบางทีเราอาจจะอยากได้แสงสว่างเพิ่มขึ้นอีกสักเล็กน้อยที่สวนหย่อมหน้าบ้าน คาดว่าจะจ้างเหมาช่างผู้ชำนาญการมาซ่อมแซมหรือติดตั้ง ก็ดูจะเป็นการใช่เหตุจนเกินไปอีกทั้งค่าจ้างค่าแรงก็ไม่ใช่น้อยๆ นอกจากจะเสียเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ แล้วยังต้องเสียค่าแรงช่างอีกด้วย ยิ่งหากเหมาช่างทั้งค่าแรงค่าอุปกรณ์ด้วยแล้ว ย่อมต้องเจอการชาร์จอย่างไม่ต้องสงสัยหรืออาจเป็นกังวลกับเรืองอุปกรณ์เครื่องมือช่างต่างๆ ที่เราก็ไม่ทราบแน่ชัดหากเรามีอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องมือช่างต่าง ที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมและติดตั้งติบ้านไว้แล้ว เมื่อยามจำเป็นที่จะต้องใช้เราก็หยิบเครื่องมือไฟฟ้า หรือเครื่องมือช่างมาซ่อมแซมได้เลยทันที กับบางคนอาจคิดว่า “ซื้อเสียเงิน ซื้อมาทำไม ซื้อมาแล้วใช่ว่าจะได้ใช้งานอยู่ตลอดนานๆ จะได้ใช้ที ไม่คุ้มหรอก” หากคิดเช่นนี้ เราอาจจะต้องเดือดร้อน เมื่อต้องการใช้งานจริงๆก็เป็นได้

                   ระบบไฟฟ้านั้นมีอะไรบ้าง ขอให้อย่าห่วงเรื่องนั้น เพราะต่อไปนี้จะพาไปรู้จักวัสดุ อุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องมือช่างต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานไฟฟ้าให้ได้หาซื้อไว้ติดบ้านของเรา หากเกิดปัญหาไฟฟ้าขัดข้อง แล้วไม่สามารถตาช่างไฟมาซ่อมแซมได้ทันท่วงทีในช่วงเวลาอันวิกฤต “เราจะพึ่งใคร” เพราะครอบครัวฝากความหวังไว้ทีเราคนเดียว แต่ก่อนทีจะรู้จักวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือช่างต่างๆ นั้น จะขออธิบายเรื่องระบบการทางานของไฟฟ้าเสียก่อนระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าในปัจจุบัน หน่วยงานที่มีหน้าทีรับผิดชอบการผลิตและส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าก็คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และยังมีองค์กรเอกชนที่ได้รับสัมปทานในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนอีกด้วย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศแต่ในส่วนของผู้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้เราๆ ได้ใช้โดยตรง จะเป็นการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวคือ องค์กรดังกล่าวจะรับระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตของชาติ และของเอกชนผู้ได้รับสัมปทาน แล้วส่งจ่ายให้ถึงบ้านเรือนเราอีกต่อหนึ่ง อีกทั้งยังมีหน้าทีทำให้ระบบไฟฟ้าเข้าให้ถึงทุกจุดทั่วประเทศรวมถึงการจัดเก็บค่าใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วยโดยกระแสไฟฟ้าที่ถูกส่งผ่านมายังการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น จะถูกแปลงแรงดันไฟฟ้าลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น จากแรงดัน 1,000 โวลต์ให้เหลือ 220-230 โวลต์ ซึงเป็นมาตรฐานของการใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือนทำไป อีกทั้งยังเป็นมาตรฐานของเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องมือช่างทุกชนิดในประเทศไทยอีกด้วยเมื่อแรงดันกระแสไฟฟ้าถูกแปลงลงให้เหมาะสมแล้ว กระแสไฟฟ้านั้นจะถูกส่งผ่านจากหม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดตังอยู่ตามจุดต่างๆ ในกลุ่มพนที่และขอบเขตตามจำนวนของผู้ใช้ไฟ แล้วส่งตรงไปยังมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านเราหม้อแปลงไฟฟ้าเนื่องจากระบบไฟฟ้าที่การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รับมาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนั้น จะมีแรงดันไฟฟ้าสูงเกินกว่า 1,000 โวลต์ หม้อแปลงไฟฟ้าจึงเป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้าให้ส่งที่ 30a ดังนั้นเพื่อให้เหมาะสมกับงานที่จะใช้งานบางอย่างอาจต้องการให้การส่งพลังงานไฟฟ้าจากโรงผลิตไฟฟ้ามายังสถานีย่อย ต้องใช้หม้อ แรงสูง แต่การใช้ในบ้านเรือนปกติ หรือโรงงานอุตสาหกรรม ด้างให้ใช้ไฟฟ้าไฟฟ้าแรงต่ำที่ไม่เกิน 1,000 โวลต์ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานเดียวกันท้าประเทศโวลต์ ดังนั้นมิเตอร์ไฟฟ้าคือเครื่องมือในการวัดหน่วยกาลังไฟฟ้าที่มีการใช้โดยจะแสดงเป็นตัวเลขที่หมุนตามการใช้งานจริงต่อชั่วโมง มิเตอร์ไฟฟ้าที่ประสงค์เพื่อนำตัวเลขการใช้งานไฟฟ้านั้น ไปคำนวนตามสูตรการจัดเก็บค่าไฟของหน่วยงานที่ขนาดดังต่อไปนี้

1, มิเตอร์ขนาด 5 (15) แอมป์ ใช้กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 15 แอมป์ 

2, มิเตอร์ขนาด 15 (30) แอมป์ ใช้กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 30 แอมป์ 

3. มิเตอร์ขนาด 30 (75) แอมป์ ใช้กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 75 แอมป์ 

4. มิเตอร์ขนาด 50 (100) แอมป์ ใช้กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 100 แอมป์ 

ดังนั้นกระแสไฟฟ้าจึงส่งผ่านมาจากมิเตอร์ไฟฟ้า โดยกระแสจะวิงเข้าสู่ตู้บ้าน และแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องมือช่างทุกชนิด ตามนั้นเอง ซึ่งในปัจจุบัน ไม่มีส่วนไหนในประเทศไทยที่ตกสำรวจนอกจากจะถูกถอดหม้อไฟออกไป เพราะไม่ไปจ่ายค่าไฟนั้นเองศัพท์เฉพาะที่ควรรู้ก่อนที่จะลงลึกในเนอหามากไปกว่านี้ จะขออธิบายศัพท์เฉพาะที่ควรรู้เสียก่อน ทีบางครั้งเราอาจจะพบเจอในบิลค่าไฟ หรือไม่ก็คู่มือการติดตงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พึ่งจะซื้อมา เราจะได้เข้าใจว่า ศัพท์เฉพาะเหล่านั้น หมายความว่าอย่างไรบ้าง

Volt (โวลต์) คือ หน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า

Amp (แอมแปร์) คือ หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า

Watt (วัตต์) คือ หน่วยของกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง

Unit (หน่วย) คือ หน่ายของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ต่อข้าโมง

Kwh (กิโลวัตต์มิเตอร์) คืออุปกรณ์ที่ใช้วัดหน่วยของกำลังไฟฟ้าที่ใช้

ระบบไฟฟ้าในปัจจุบันระบบไฟฟ้าที่จ่ายกระแสให้เราใช้งานอยู่นี้ แยกออกเป็น 2ระบบด้วยกันคือ ระบบ 1 เฟส และระบบ 3 เฟส ดังจะอธิบายต่อไปนี้

1. ระบบ 1 เฟส (220V.) ระบบ 1 เฟส จะมีสายไฟ 2 เส้น ทีทำหน้าทีส่งถ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปในระบบ ซึ่งประกอบด้วย สาย  1 เส้น เป็นสายไฟที่มีกระแสไฟฟ้าวิงผ่าน และ-สาย Neutron (นิวตรอน) 1 เส้น คือสายไฟไม่มีกระแสไฟฟ้าโดยระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะมีแรงดันไฟฟ้า 220-230 โวลต์ และมีความถี่50 เฮิรตซ์ (Hz) ซึ่งระบบนี้จะเหมาะสมให้ใช้งานในบ้านเรือน หรือสำนักงานที่ไม่ได้ติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้ไฟฟ้ามากๆ

2. ระบบ 3 เฟส (380V.) ระบบ 3 เฟสนี้ จะมีสายไฟ 3 เส้น ที่ทำหน้าที่ส่งถ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปในระบบ ซึ่งประกอบด้วย-สาย Line  เป็นสายที่มีกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านอยู่ 2 เส้น และสาย Neutron (นิวตรอน) สายนี้ไม่มีกระแสไฟฟ้า 1 เส้นซึ่งระบบไฟฟ้า 3 เฟสนี้จะมีแรงดันไฟฟ้าก็ อยู่ที่ 380-400 โวลต์ และแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 220-230 โวลต์ และมีความถี่ 50 เฮิรตซ์ (Hz) โดยระบบนี้เป็นการการใช้ไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรมหลัก หรืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก ใช้ไฟฟ้าที่กินไฟสูง เช่น แท่นพิมพ์ เครื่องสีข้าว หรือเครื่องจักรขนาดใหญ่Ground (สายดิน)สายดินจะสามารถติดตงได้ทั้ง 2 ระบบ ไม่ว่าจะเป็นระเฟส หรือ 3 เฟส โดยการติดตั้งสายดิน จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ไฟฟ้า หรือลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เมื่อคุณได้สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้านอกจากนี้สายดินยังช่วยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องมือช่าง และระบบไฟฟ้าของเราอีกด้วย หากเกิดกรณีที่เกิดไฟฟ้าผิดปกติจากระบบ เพื่อให้ไฟฟ้าที่รั่วออกมา ไหลลงสู่ได้พื้นดิน โดยอาจแบ่งชนิดของการต่อลงดินได้ 3 ประเภทด้วยกัน คือ

1. การต่อพ่วงลงดินจากระบบไฟฟ้าโดยตรง

2. การต่อพ่วงลงดินจากเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยตรง

3. การต่อพ่วงลงดินจากระบบป้องกันฟ้าผ่าโดยตรง

ซึ่งประเภทที่ 3 นี้ จะเป็นระบบที่ต้องมีในระบบไฟฟ้า ตามมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าในปัจจุบัน และระบบป้องกันฟ้าผ่านี้ จะเพิ่มวัตถุประสงศ์เพื่อป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าในกรณีฝนฟ้าคะนอง ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่วิ่งไปวิ่งมาในอากาศกำลังจะหาทางลงสู่พื้นดินที่เราๆ เรียกกันว่าฟ้าผ่านั้นเอง หากเราติดตั้งจากระบบป้องกันฟ้าผ่าโดยร่วมกับสายดินแล้ว ย่อมสามารถป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าที่ผ่าลงมาถึงตัวเราผู้ใช้ไฟฟ้าด้วยได้

ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า

ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก หรื่อมีซึ่อย่อว่า (MDB) สำหรับอาคารสถานที่ที่ใช้ไฟฟ้ามาก เช่น ระบบไฟฟ้า 3 เฟส แต่หากเป็นกรณีที่ใช้กับระบบไฟฟ้าตามอาคารบ้านเรือนแล้ว โดยมาก ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลักจะเป็นประเภทคอนซูเมอร์ยูนิต (Consumer Unit) ซึ่งถือเป็นแผงจ่ายไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย อาจใช้งานควบคูไปกับเซฟตีสวิตช์ (Safety Swith) ซึ่งจะมีเบรกเกอร์ตัวหลัก หรือ (MainCircuit Breaker) เพื่อตัดต่อวงจรในระบบไฟฟ้าทั้งหมด ตั้งแต่ต้นทางของอาคารบ้านเรือน ซึ่งตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า หลักนี้ จะเป็นตัวรับกระแสไฟฟ้าจากมิเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตงอยู่ที่เสาไฟฟ้าหน้าบ้านของเรา และทำหน้าที่แจกจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังหน่วยย่อยอื่นๆ ภายในอาคารบ้านเรือนด้วยตูควบคุมย่อย หรอมชื่อย่อว่า (SDB) เป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าย่อย ที่รับกระแสไฟฟ้าจากตูควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก และทำหน้าทีจ่ายกระแสไฟฟ้าไปตามเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ หรือบางแห่งอาจติดตั้งตูย่อยลงไปอีก เพื่อควบคุมกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ หรือที่เราอาจคุนหูด้วยค่าว่า LoadCenter (โหลดเซ็นเตอร์) นั่นเองตู้โหลดเซ็นเตอร์ นี้ ขอแนะนำให้ทราบความจำเป็นต่อการใช้งาน โดยการคำนวณจากจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้งาน หากจุดๆ เดียวมีการใช้เครื่องไฟฟ้าพร้อมกัน หรือในจุดที่มีเครื่องมือไฟฟ้าที่กินไฟมาก ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดความร้อนสูง ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการเผาไหม้ในระบบวงจรไฟฟ้ามากขึ้น เช่นสว่าน เครื่องเจียร ตู้เชื่อม แท่นตัดไฟเบอร์ เป็นต้น เช่นนี้ คุณก็สมควรจะติดตั้งตู้โหลดเซ็นเตอร์นี้ เพื่อให้มีหน้าที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องมือไฟฟ้านั่นเอง

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *