ทรานซิสเตอร์ (Transistor) คืออะไร?

ทรานซิสเตอร์ (Transistor) คืออะไร?

ทรานซิสเตอร์ (Transistor) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยจะใช้ธาตุกึ่งโลหะที่มีคุณสมบัติเป็นทั้งตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า เรียกว่า สารกึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ มีหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ไม่ว่าจะยอมให้กระแสไฟไหลผ่านและบล๊อกไม่ให้กระแสไฟไหลผ่าน จะคล้ายๆกับไดโอด แต่ทรานซิสเตอร์ยังสามารถควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย

ทรานซิสเตอร์จะมีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกัน เรามักจะเรียกว่า ตัวถัง และถ้าทรานซิสเตอร์มีขนาดใหญ่ แสดงว่าสามารถนำกระแสไฟได้มากนั่นเอง 

ประเภทของทรานซิสเตอร์

โครงสร้างของทรานซิสเตอร์ ประกอบด้วย สารกึ่งตัวนำ P และ N 3 ตัวต่อกัน ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

  1. NPN ประกอบด้วยสารกึ่งน้ำตัวชนิด N 2 ตัว และชนิด P 1 ตัว วางสลับกัน(Negative-Positve-Negative)

PNP ประกอบด้วยสารกึ่งน้ำตัวชนิด P 2 ตัว และชนิด N 1 ตัว วางสลับกัน (Positve-Negative-Positve)

การเรียงตัวของสารกึ่งตัวที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ทรานซิสเตอร์ทั้ง 2 แบบมีหลักการทำงานที่แตกต่างกันไปด้วย 

หลักการทำงานของทรานซิสเตอร์

NPN Transistor เมื่อมีกระแสไฟที่ขา B ทรานซิสเตอร์จะทำงาน และยอมให้กระแสไฟฟ้าที่มากกว่าไหลผ่านขา C ไปยังขา E แต่ในทางตรงข้ามหากไม่มีกระแสไฟฟ้าที่ขา B เลย ทรานซิสเตอร์จะอยู่ในสภาวะ Cut-Off จะบล๊อกไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลจากขา C ไปขา E ได้ (ขา E ทำหน้าที่เป็นกราวด์นั่นเอง)

PNP Transistor ทรานซิสเตอร์ชนิดนี้จะแตกต่างกับแบบ NPN คือ ขา C ทำหน้าที่เป็นกราวด์แทน เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยที่ขา B ทรานซิสเตอร์จะทำการบล๊อกไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากขา E ไปขา C ได้ แต่หากไม่มีกระแสไฟฟ้าที่ขา B เลยก็จะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากขา E ไปขา C

Mode การทำงานของทรานซิสเตอร์

ทรานซิสเตอร์จะมีการทำงานหลัก ๆ อยู่ 4 โหมด ได้แก่ 

Active Mode คือ โหมดที่มีการทำงาน

Cut-Off Mode คือ โหมดที่หยุดทำงาน

Saturation Mode คือ โหมดอิ่มตัว มีการจ่ายกระแสไฟที่ขา B มากจนอิ่มตัว ทำให้กระแสไฟไหลผ่านขา CE มากที่สุด

Reverse-Active Mode กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขา E ไปขา C แทนซึ่งมีบางกรณีเท่านั้น

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน อรนุชา แสงจันทร์นุกูล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น