วงจรผสม คืออะไร
วงจรไฟฟ้า มีรูปแบบการต่อวงจรไฟฟ้าหลายแบบ วงจรไฟฟ้าจะมีความเปลี่ยนแปลงและคุณสมบัติต่อกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าแตกต่างกันตามรูปแบบการต่อวงจรไฟฟ้า วันนี้จะมาแนะนำ การต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสม
วงจรผสม
วงจรผสมคือ การต่อวงจรทั้งแบบอนุกรมและแบบขนานเข้าไปในวงจรเดียว ภายในวงจรโหลดบางตัวต่อวงจรแบบอนุกรม และโหลดบางตัวต่อวงจรแบบขนาน เป็นการต่อวงจรที่ไม่มีมาตรฐานตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แต่การต่อแบบวงจรผสมอาจจะต้องอาศัยประสบการณ์หรือปรึกษาช่าง เพื่อความแน่นอนและความปลอดภัย โดยทั่วไปวงจรผสมไม่นิยมใช้กัน
การวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรผสม
- ตั้งย่านวัดมัลติมิเตอร์วัดกระแส (mA) ให้มีค่าสูงๆ เพื่อป้องกันการรับกระแสไฟฟ้าไม่พอไว้
- ให้สายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์ต่อแบบอนุกรมเข้ากับสายด้านไฟบวกของแหล่งจ่ายไฟ
- ให้สายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์ต่อแบบอนุกรมเข้ากับสายด้านไฟลบของแหล่งจ่ายไฟ
- เท่านี้ก็สามารถอ่านค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านในวงจรได้
การวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรผสมแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ตั้งย่านวัดมัลติมิเตอร์วัดกระแสสูงๆ ใช้สายของมัลติมิเตอร์แบบอนุกรมต่อสายแหล่งจ่ายไฟ สายขั้วลบต่อสายขั้วลบ สายขั้วบวกต่อสายขั้วบวก ส่วนการวัดค่าแรงดันตกคร่อมในวงจรผสมก็เหมือนกันแต่เปลี่ยนจากกดมัลติมิเตอร์วัดกระแสสูงๆเป็นตั้งย่านวัดแรงดันไฟตรงมากกว่าแหล่งจ่ายไฟ
HOTLINE-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
ผู้เขียน วรดล ขาวคง
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ