กฎหมายการติดตั้งสายล่อฟ้า มีอะไรบ้าง?
ตามกฎหมายสายล่อฟ้าของกฎกระทรวงในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลากหลายฉบับ ตามแต่ของกระทรวง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงแรงงาน หรือจะเป็นกระทรวงมหาดไทย โดยการตั้งกฎหมายสายล่อฟ้าขึ้นมานั้น มีขึ้นเพื่อกำหนดมาตรฐานของระบบสายล่อฟ้า ให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนด เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องติดตั้งสายล่อฟ้า ได้ดำเนินการเพื่อความปลอดภัยอย่างสูงสุด เราจึงได้รวบรวมรายละเอียดของกฎหมายแต่ละฉบับ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้งสายล่อฟ้าไว้ เพื่อป้องกันและระวังภัยธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันสูงสุดได้
โดยปกติแล้วการติดตั้งระบบสายล่อฟ้า จะมีระบบความปลอดภัย และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานเบื้องต้นอยู่แล้ว แต่ตามฉบับตามความปลอดภัย กำหนดให้นายจ้าง ต้องจัดทำวิธีในการปฏิบัติการภายในอุตสาหกรรม ไว้เป็นแนวทางให้กับลูกจ้าง ดังต่อไปนี้
- อาคารโดยทั่วไป จะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบกิจการต่าง ๆ ไม่ว่ามีขนาดเท่าใดก็ตาม หรือมีความสูงมากหรือน้อย จำเป็นจะต้องทำการติดตั้งระบบระบบสายล่อฟ้าทั้งหมด
- ระบบสายล่อฟ้า ที่ทำการติดตั้งไว้ภายในแหล่งอุตสาหกรรม จะต้องได้มาตรฐาน ตาม วสท IEC และ NFPA เท่านั้น
- ระบบสายล่อฟ้า จะต้องมีรูปแบบตามที่กำหนดไว้ โดยในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่ สายล่อฟ้า Faraday Cage และ สายล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission แต่หากมีการติดตั้งสายล่อฟ้าแบบ ESE จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจสอบทุกปี เพื่อส่งให้ทางกระทรวงแรงงาน
อย่างไรก็ตาม ระบบป้องกันฟ้าผ่า หรือ ระบบสายล่อฟ้า ถือว่ามีความสำคัญสำหรับอาคาร และสิ่งปลูกสร้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอาคารในรูปแบบใดก็ตาม แต่น่าเสียดายที่ในปัจจุบัน การติดตั้งสายล่อฟ้า ยังไม่ได้การรับรองให้ติดตั้งบนอาคารทุกประเภท แต่ก็เป็นอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานที่จะสามารถป้องกันอันตรายจากภัยธรรมชาติ
HOTLINE-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
ผู้เขียน ขวัญหทัย ลิ้มประเสริฐ
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ