วิธีการคำนวณโหลดไฟฟ้าแบบเบื้องต้น
โหลดไฟฟ้าหรือภาระทางไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อกับวงจรไฟฟ้า โดยโหลดไฟฟ้ามีหน้าที่นำพลังงานในลักษณะของกระแสไฟฟ้ามาเปลี่ยนแปลงให้เป็นพลังงานในรูปแบบอื่น เช่น ความร้อน ความเย็น แสง เสียง และการสั่นสะเทือน เป็นต้น โหลดไฟฟ้าจะมีการแสดงผลถึงค่าต่าง ๆ ทั้งกำลังไฟฟ้า กระแส และค่าแรงดัน
หนึ่งในหัวใจหลักของงานไฟฟ้าก็คือ การคำนวณโหลดเพราะเป็นการคำนวณหาผลรวมของโหลดทั้งสถานที่ซึ่งต้องอาศัยความละเอียดอ่อน และเป็นตัวกำหนดขนาดของอุปกรณ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
- การคำนวณโหลดวงจรย่อย
- วงจรย่อยแสงสว่าง : ขนาดพิกัดคือ 5, 10, 15 และ 20 A มักกำหนดให้พิกัดอยู่ที่ 15 และ 20 A เพื่อความสะดวกและประหยัดจำนวณการใช้วงจร ในกรณีที่โหลดขนาดใหญ่ ขนาดพิกัดวงจรย่อยจะต้องไม่เกิน 50 A
- วงจรย่อยเต้ารับ : ใน 1 เต้ารับ จะคิดขนาดที่ 180 VA ขนาดพิกัดคือ 5, 10, 15 และ 20 A (15 A เป็นขนาดพิกัดของวงจรเต้ารับทั่วไป) มักกำหนดให้จำนวนเต้ารับในการใช้ทั่วไปมีไม่เกิน 10 ตัว
- วงจรย่อยเฉพาะ : เป็นวงจรที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ชนิดเดียวกันเท่านั้น สามารถคำนวณพิกัดได้จากโหลดที่ติดตั้งจริง โดยหาโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้จากแผ่นป้ายประจำเครื่อง (Name Plate) และหาโหลดมอเตอร์ไฟฟ้าได้จากวิธีการคำนวณมอเตอร์
- วงจรย่อยผสม : ประกอบด้วยโหลดของอุปกรณ์ไฟฟ้า 2 ชนิดขึ้นไป แต่เป็นวงจรที่มีความยุ่งยากต่อการออกแบบ ควรหลีกเลี่ยง
- การคำนวณโหลดวงจรสายป้อน
- สายป้อนควรมีขนาดเพียงพอต่อการจ่ายโหลด และไม่น้อยกว่าผลรวมของโหลดทั้งหมดในวงจรย่อย
- มี Demand Factor เพื่อใช้คำนวณสายป้อนโดยเฉพาะ (ห้ามใช้กับวงจรย่อย)
- การคำนวณโหลดวงจรประธาน
- เป็นการนำโหลดจากแผงจ่ายไฟในระบบทั้งหมดมารวมกัน
- สายประธานควรมีขนาดเพียงพอต่อการจ่ายโหลด และไม่น้อยกว่าผลรวมของโหลดในอาคารทั้งหมดในวงจรย่อย
HOTLINE-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
ผู้เขียน ธีรรินทร์ เกิดอยู่
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ