ระบบป้องกันฟ้าผ่า มีกี่แบบ?
ระบบป้องกันฟ้าผ่า ถือว่าเป็นระบบที่ค่อนข้างสำคัญ ที่น่าจะช่วยลดความเสียหายจากการถูกฟ้าผ่า หรือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มักจะเกิดขึ้นกับโครงสร้างของอาคารมากมาย ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายแก่โครงสร้าง แต่ยังอาจส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินและบุคคลภายในที่อยู่อาศัยอีกด้วย ดังนั้น เราจึงได้รวบรวมข้อมูลของระบบป้องกันฟ้าผ่า มีกี่แบบ มาให้ทุกคนได้รู้จัก และสามารถป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ด้วยระบบนี้ได้อย่างไรบ้าง สามารถติดตามได้ที่รายละเอียด ดังต่อไปนี้
ระบบป้องกันฟ้าผ่า มีกี่ประเภท
ในปัจจุบัน ระบบป้องกันฟ้าผ่า มีด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท โดยการติดตั้งนั้นไม่มีการจำกัดพื้นที่ในการใช้งาน สามารถนำมาใช้ได้ทั้งพื้นที่ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยทั้ง 2 ประเภทนี้ จะได้แก่
- ระบบป้องกันฟ้าผ่า แบบ ESE หรือ Eary Streamer Emission
ระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบ ESE มีการทำงานแบบการปล่อยประจุ เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดฟ้าผ่าลงที่แท่ง ESE ก่อน เพื่อป้องกันฟ้าผ่าลงบริเวณจุดอื่น ๆ ที่ไม่มีประจุเหล่านี้ในการล่อ การทำงานจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นจากก้อนเมฆ ซึ่งส่งผลให้สนามไฟฟ้ามีค่าที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น
- ระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบ Faraday Cage หรือ กรงฟาราเดย์
ระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบกรงฟาราเดย์ จะใช้แท่งล่อฟ้าในการทำงาน โดยจะใช้สายทองแดงประกอบเป็นตารางแท่งล่อฟ้า และจะต้องทำการติดตั้งให้ห่างกันไม่เกิน 20 – 30 เมตร การติดตั้ง มักจะถูกติดตั้งแบบเต็มพื้นที่ที่ต้องการป้องกันปรากฏการณ์ฟ้าผ่า ซึ่งจะต้องใช้สายทองแดง แท่งกราวด์ และแท่งล่อฟ้า ในจำนวนที่มากยิ่งขึ้น ตามขนาดของ
HOTLINE-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
ผู้เขียน ขวัญหทัย ลิ้มประเสริฐ
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ