ความสำคัญของการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า

ความสำคัญของการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า

ปัญหาของระบบไฟฟ้าขัดข้อง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานขององค์กร หน่วยงาน และยังทำให้สูญเสียโอกาสในการแข่งขันเชิงธุรกิจ ต้องหยุดไลน์การผลิต หรือเกิดความสูญเสีย ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการขาดการวางแผนในการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่เหมาะสม ดังนั้น การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยรักษาความเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า เพื่อลดผลกระทบความสูญเสีย

โดยทั่วไปงานตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้านั้น เป็นหัวใจหลักของระบบการผลิตต่าง ๆ ภายในองค์กร หน่วยงาน และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ระบบไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ยาวนานและมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งงานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่ดี คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance : PM) โดยสิ่งสำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน คือ การตรวจสอบสภาพ เพื่อให้ทราบว่าระบบหรืออุปกรณ์มีร่องรอยการเสื่อมสภาพหรือไม่ 

โดยการตรวจสอบนั้น เราสามารถทำได้ 2 แบบ คือ การตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection) และการตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัด ซึ่งต้องการความรู้ในการใช้เครื่องมือวัดและการวิเคราะห์ การตรวจสอบด้วยสายตาและเครื่องมือวัด สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การตรวจสอบทั่วไป และการตรวจสอบตัวอุปกรณ์แต่ละรายการ

  1. การตรวจสอบทั่วไป 

เป็นการตรวจสภาพทั่วไปของระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นการตรวจสอบอย่างง่าย โดยที่ผู้ตรวจสอบจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกันเป็นอย่างดี การตรวจสอบทั่วไป จะมีอยู่ด้วยกัน ดังนี้ สายไฟ, เซอร์กิตเบรกเกอร์, ขั้วต่อหรือจุดต่อสาย, การระบายอากาศในห้องไฟฟ้า, การระบายอากาศและท่อไอเสียสำหรับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และแบตเตอรี่

  1. การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า

เป็นการตรวจสอบหาความเสื่อมสภาพ ความผิดปกติ และอื่น ๆ ของระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ผ่านการบันทึกค่า ผลการตรวจ และทำการวิเคราะห์ผลที่ได้เพื่อหาทางแก้ไข ข้อสำคัญคือ บางรายการจำเป็นที่จะต้องตรวจขณะที่ไฟฟ้าทำการจ่ายพลังงาน บางรายการก็จำเป็นที่จะต้องปิดระบบการทำงานของไฟฟ้าก่อน เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อตัวของผู้ที่ทำการตรวจสอบนั่นเอง

โดยความถี่ในการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้านั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และการใช้งาน โดยปกติจะดำเนินการตรวจสอบเพียงแค่ปีละ 1 ครั้ง การที่จะทำการตรวจสอบถี่ขึ้นหรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากปัจจัย ดังต่อไปนี้ การกัดกร่อนของบรรยากาศ, ผุ่นละออง, ความชื้นโดยรอบ, ความถี่ในการทำงาน และความถี่ในการตัดกระแสลัดวงจร

การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและการตรวจระบบไฟฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบการ โดยจะต้องเป็นไปตามกฎหมายของกระทรวงอุตสาหกรรมตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550 และตามกฎหมายของกระทรวงแรงงานตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน มิ่งสุดา โสมะฐิติ

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *