ทำไมบางโรงงานถึงมีอุบัติเหตุ 0 รายต่อเดือน เพราะเขามีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความสามารถในการดูแล ป้องกันอันตราย และเข้มงวดในกฎระเบียบเพื่อความปลอดภัยของทุกคน พวกเขาถูกเรียกว่า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือ จป. มีหน้าที่คอยดูแล และป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และให้ทุกการปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมายกำหนด
จป. แบ่งเป็นประเภทหลัก ๆ ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหัวหน้างานของสายงานที่ได้รับเลือกเข้าอบรม เพื่อเป็น จป.หัวหน้างาน
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร เช่นเดียวกับ จป.หัวหน้างาน แต่จะอยู่ในตำแหน่งที่
สูงกว่าหัวหน้างานขึ้นไปเท่านั้น
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิค หากสถานประกอบกิจการใดมีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 50 คน นายจ้างต้องส่ง จป.หัวหน้างาน ไปเข้ารับการอบรมเพื่อเป็น จป.เทคนิคเพิ่มเติม
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคขั้นสูง หากสถานประกอบกิจการใดมีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 100 คน โดย จป.เทคนิคขั้นสูงจะต้องอบรม และต้องสอบผ่านทุกหมวด รวมทั้งต้องจบระดับ ปวส. หรือ อนุปริญญาเป็นขั้นต่ำ ถึงจะผ่านเกณฑ์การเข้าอบรม
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ สถานประกอบกิจการจะต้องมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป จึงจะต้องมี จป.วิชาชีพอย่างน้อยหนึ่งคน เจ้าหน้าที่ระดับนี้จะต้องจบปริญญาตรีด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย หรือวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย ที่สถาบันการศึกษานั้น ๆ ได้รับการรับรองเท่านั้น
ทุกการทำงานล้วนมีความเสี่ยง และอันตรายที่อาจเกินขึ้นโดยไม่คาดคิด ความปลอดภัยของพนักงานจึงเป็นส่วนสำคัญ เพราะพวกเขาเป็นกำลังที่ผลักดันให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ จึงเป็นหน้าที่ของเหล่า จป. ทั้งหลายที่ต้องช่วยกันสอดส่อง ดูแล ป้องกันอันตราย ไม่ให้เกิดขึ้นแม้เพียงครั้งเดียว และไม่เพียงแค่ จป. เท่านั้น พนักงานทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกัน ดูแลตัวเองเช่นกันในทุกขณะของการทำงาน จะต้องศึกษา และเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อการปฏิบัติงานที่ดำเนินไปอย่างเต็มรูปแบบ และพัฒนาองค์กรต่อไปได้
ผู้เขียน : ธมนณัฏฐ ดวงมณีวิวัตน์
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ
ขั้นตอนการใช้บริการ
แอดไลน์ > แจ้งปัญหา > รอราคา > ตกลงราคา > รับบริการ

