ความแตกต่างระหว่าง CT กับ PT?

หม้อแแปลงไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากเพราะมีผลต่อการทำงานของระบบไฟฟ้า ซึ่งวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า และหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าว่าทั้ง 2 มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง มาเริ่มกันที่ 

CT (Current Transformer) คือ หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า มีหน้าที่แปลงขนาดกระแสของระบบไฟฟ้าค่าสูงให้เป็นค่าต่ำ เพื่อประโยชน์ในการวัดและการป้องกัน แยกวงจร Secondary ออกจากวงจร Primary เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงาน ทำให้สามารถใช้กระแสมาตรฐานทางด้าน Secondary ได้กรณีใช้งานกับไฟแรงสูง จำเป็นต้องมีฉนวนที่สามารถทนต่อแรงดัน ใช้งานและแรงดันผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นในระบบ เมื่อต้องการวัดกระแสไฟฟ้าที่มีค่าสูงกว่าพิสัย (Range) ของเครื่องวัดกระแสไฟฟ้านั้น เช่น แอมป์มิเตอร์ (Ammeter) ที่ใช้งานทั่วไปจะสามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้โดยตรงที่ 5A เท่านั้น 

ซึ่งหม้อแปลงกระแสไฟฟ้ามีการใช้อย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันโครงสร้างของ CT ด้านบนจะเป็นขดลวดทางด้านปฐมภูมิ มีสายไฟหรือบัสบาร์ผ่านแกนของ CT เพียงเส้นเดียว CT วัดกระแสไฟฟ้าจะใช้งานกับโหลดได้หนึ่งตัวต่อ 1 เฟส ในส่วนของขดลวดทางด้านทุติยภูมิ จะมีการพันขดลวดที่แกน Hollow Core จำนวนรอบของขดลวดมากกว่า โดยแกนวงกลมของ CT ทำมาจากเหล็กซึ่งเป็นวัสดุที่มีความสูญเสียต่ำ มีความสำคัญต่อค่าความแม่นยำของตัว CT ส่วนในการทำงานของ CT จะอาศัยหลักการวัดกระแสไฟฟ้าทางด้านอินพุต (Input Current) และลดทอนกระแสไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุต (Output Current) แบบสัดส่วน (Ratio) เพื่อไปต่อร่วมกับ Ammeter

ส่วน PT (Potential Transformer) คือ หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่แปลงแรงดันไฟฟ้าที่มีค่าสูงให้เป็นแรงดันไฟฟ้าที่มีค่าต่ำลง เป็นแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งานจริงเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า เมื่อแรงดันไฟฟ้าที่ต้องการวัดนั้นมีค่าสูงกว่าพิสัย (Range) ของเครื่องวัด เช่น โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) เป็นต้น โดยอัตราส่วนของด้านแรงดันสูง (High Voltage) คือด้าน Primary จะมีขนาดมาตรฐานเท่ากับแรงดันของสายเมน เช่น 220V, 440V,  2200V เป็นต้น ซึ่งด้าน Primary และด้านแรงดันต่ำ (Low Voltage) คือด้าน Secondary โดยทั่วไปมักจะมีขนาดแรงดัน เช่น 110V, 220V,380V เป็นต้น  

โครงสร้างของ PT หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าจะมีโครงสร้างที่เหมือนกันกับหม้อแปลงไฟฟ้าโดยทั่วไป ส่วนหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า (PT) จะอาศัยหลักการเหนี่ยวนำของขดลวดทั้งสองที่พันอยู่บนแกนเหล็กเดียวกัน โดยจะแปลงแรงดันไฟฟ้าสูงทางด้านขดลวดปฐมภูมิ (Primary) ให้มีพิกัดแรงดันไฟฟ้าต่ำลงที่ทางด้านทุติยภูมิ (Secondary) เพื่อให้เหมาะสมกับพิสัย (Range) ของโวลต์มิเตอร์ และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานในการวัดแรงดันไฟฟ้าอีกด้วย ซึ่งหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าจะมีอัตราส่วนของหม้อแปลง (Transformer Ratio 11000/110V) 

นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างที่สำคัญ คือ CT และความหนาแน่นแตกต่างกันไปในช่วงกว้าง แต่ใน PT จะแตกต่างกันไปในช่วงขนาดเล็ก, หลักของ CT มีแรงดันไฟฟ้าเล็กน้อยในขณะที่ PT มีแรงดันไฟฟ้าเต็ม, CT จะถูกนำไปใช้ในวงจรในอนุกรม PT จะถูกนำไปใช้ในแบบคู่ขนาน, กระแสหลักของหม้อแปลงไม่ขึ้นกับโหลดในขณะที่ความต่างศักย์ขึ้นอยู่กับโหลด, กระแสหลักเป็นอิสระจากโหลดในขณะที่กระแสหลักของหม้อแปลงแรงดันขึ้นอยู่กับสภาวะภายนอกที่โหลด, CT หลักเชื่อมต่ออยู่ภายในสายไฟ ขดลวดทุติยภูมิสำหรับอุปกรณ์และรีเลย์กระแสไฟฟ้าที่เป็นเศษเสี้ยวเล็ก ๆ คงที่ของกระแสไฟฟ้าภายในสาย เช่นเดียวกัน PT จะเชื่อมโยงกับขดลวดปฐมภูมิในสายไฟ อุปกรณ์รองส่งอุปกรณ์และรีเลย์แรงดันไฟฟ้าที่เป็นเศษส่วนที่ทราบของแรงดันไฟฟ้าสาย

ทั้งนี้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะเห็นถึงความแตกต่างของ CT และ PT ตั้งแต่หน้าที่ ตลอดจนหลักการทำงานได้อย่างชัดเจน

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น