Industrial Internet of Things คืออะไร?

เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) เป็นเทคโนโลยีที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นตัวการสำคัญในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น ทีวี เครื่องปรับอากาศ พัดลม ตู้เย็น หรือแม้กระทั่งหลอดไฟ เจ้าเทคโนโลยีประเภทนี้ก็สามารถควบคุมได้เช่นเดียวกัน เรียกได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่ใช้เพียงแค่อินเทอร์เน็ต ก็สามารถควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านหรืออาคารที่เราได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์เอาไว้ได้แล้ว

โดยเทคโนโลยีประเภทนี้ นอกจากที่จะนิยมนำมาใช้งานภายในบ้านเรือนแล้วนั้น ภายในโรงงานอุตสาหกรรมหลาย ๆ ที่ ก็นิยมนำเทคโนโลยีประเภทนี้มาใช้งานด้วยเช่นกัน โดยเทคโนโลยี IoT ที่ใช้กันในงานอุตสาหกรรมจะถูกเรียกว่า Industrial Internet of Things

Industrial Internet of Things หรือ IIoT คือ เทคโนโลยีที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องจักรที่มีระบบการวิเคราะห์ขั้นสูงกับอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล ติดตามผล วิเคราะห์ แลกเปลี่ยน และแสดงผลของข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่องานในด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ เรียกได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการคำนวณและช่วยในการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำให้กับงานในระบบอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี

โดยในปัจจุบันแพลตฟอร์มการทำงานของระบบ IIoT นั้น จะประกอบด้วย 3 เทคโนโลยีหลัก ๆ ดังนี้

  1. Sensors และ Sensor – Driven Computing

เป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่ได้จากการผลิต และจะส่งต่อไปยังส่วนของ Processor โดยตัวเซ็นเซอร์ของอุปกรณ์นี้ จะสามารถรับรู้สภาวะของสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น อุณหภูมิ ความดัน แรงดันไฟฟ้า การเคลื่อนไหว ในส่วนของด้านเคมี ตัว Sensor – Driven Computing จะแปลงค่าของการรับรู้ให้เป็นข้อมูลเชิงลึก โดยการใช้ Industrial Analytics ที่ผู้ปฏิบัติงานและระบบสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ในขั้นตอนต่อ ๆ ไปได้

  1. Processor หรือ Industrial Analytics

เป็นตัวประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาจากเซ็นเซอร์ในขั้นตอนแรก โดยการเปลี่ยนค่าของข้อมูลทีได้ให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดยการเก็บข้อมูลจากหลาย ๆ ส่วนของเครื่องจักรในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์ยังทำหน้าที่ในการส่งคำสั่งไปยังเซ็นเซอร์ได้อีกด้วย เปรียบเสมือนเป็นเครือข่ายในการเชื่อมโยงข้อมูลทุกจุดให้สามารถทำงานได้ทันที

  1. Intelligent Machine Application

เป็นเครื่องจักรที่มีส่วนผสมของฟังก์ชั่นสมอง (Intelligence) เข้าไป เพื่อใช้ในการควบคุมการผลิตแบบอัตโนมัติผ่านระบบซอฟต์แวร์ โดยปกติผู้วางระบบจะทำบนระบบคลาวด์ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุม แก้ไข จัดการตรวจสอบการทำงานผ่านแอปพลิเคชัน และสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ประมวลผล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อไป 

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *