Linear Transducer (ลิเนียร์ ทรานสดิวเซอร์) เป็นเครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม เครื่องมือวัดชนิดนี้มีหลักการในการทำงานโดยการนำคุณสมบัติของสนามแม่เหล็กมาใช้ในการทำงาน จึงทำให้เครื่องมือชนิดนี้ไม่สามารถใช้งานได้ในบริเวณที่มีแสงจ้า อับชื้น มีฝุ่นหรือควันต่าง ๆ เนื่องจากเซ็นเซอร์ของเครื่องมือวัดชนิดนี้จะมีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก แต่เครื่องมือวัดชนิดนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในระบบไฮโดรลิกที่มีน้ำมันหล่อเลี้ยงได้ ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่
โดย Linear Transducer นั้นเป็นทรานสดิวเซอร์ที่จัดอยู่ในประเภทเซอร์พาสทีฟ ที่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายพลังงานจากภายนอกมากระตุ้นเพื่อให้อุปกรณ์ทำงาน เนื่องจากพลังงานภายนอกนั้นจะมากระตุ้นให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น ซึ่งทรานสดิวเซอร์ประเภทนี้ จึงถูกออกแบบมาให้มีลักษณะเป็นแนวยาว เป็นแท่ง หรือเป็นแกน เพื่อให้ตัวของแม่เหล็กนั้น สามารถสไลด์ขนานไปกับอุปกรณ์ตามความยาวของอุปกรณ์ได้
หลักการทำงานของ Linear Transducer จะมีการใช้ LVDT (Linear Variable Differential Transformer) หรือก็คือทรานสดิวเซอร์ชนิดเปลี่ยนแปลงความเหนี่ยวนำแบบเชิงเส้น ซึ่งเป็นทรานสดิวเซอร์ชนิดที่ใช้ในการตรวจวัดตำแหน่งเหมือนกันกับแบบ Linear Transducer แต่หลักการทำงานนั้นจะอาศัยการเปลี่ยนแปลงค่าความเหนี่ยวนำตามตำแหน่งการเคลื่อนที่ โครงสร้างภายในของ LVDT นั้นจะประกอบไปด้วย
- ขดลวดปฐมภูมิ (Primary Winding)
จะมีลวดอยู่ด้วยกันหนึ่งขด โดยอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างขดลวดทุติยภูมิ
- ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding)
มีลวดสองขดที่ถูกต่ออนุกรมเข้าด้วยกัน โดยลวดทั้งสองขดนี้ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนรอบที่เท่ากัน แต่มีทิศทางในการพันของขดลวดตรงข้ามกัน (พันในทิศทางตามเข็มนาฬิกาหนึ่งขด และพันในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาอีกหนึ่งขด) โดยตำแหน่งของขดลวดชนิดนี้ จะอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของขดลวดปฐมภูมิ
จึงทำให้เอาท์พุตของเครื่องมือชนิดนี้จะสามารถอ่านค่าออกมาได้ โดยการส่งสัญญาณไฟฟ้าออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบบอนาล็อก แบบดิจิตอล และแบบ IO – Link แต่ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะเป็นสัญญาณแบบอนาล็อก เนื่องจากมันสามารถเดินสายได้ในระยะไกลถึง 100 เมตร อีกทั้งยังสามารถลดสัญญาณรบกวนในระบบได้อีกด้วย