วิธีติดตั้งเบรกเกอร์กันดูด
การติดตั้งเบรกเกอร์กันดูด สำหรับไฟ 1 เฟส จะมี 3 วงจรหลักด้วยกัน ซึ่งแต่ละวงจรก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน
MCB + RCCB วงจรการต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์กับอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด โดยทำหน้าที่เป็นเมนของไฟ 1 เฟส การต่อกันดูดแบบ RCCB 1 ตัว จะมีราคาที่ถูก และป้องกันไฟดูด ไฟรั่ว ได้ทั้งบ้านเลย ไม่ต้องต่อสายนิวทรัลแยก ค่อนข้างเหมาะกับบ้านที่เก่า ที่สายนิวทรัลต่อรวมกันหมด ง่ายต่อการเพิ่มกันดูด ซึ่งต่อหลังจากเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ แต่ถ้าเกิดไฟรั่วที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใด ๆ ในบ้าน หรือไฟรั่วหลายตัวก็อาจจะทำให้กันดูดทริป ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านหยุดทำงานทั้งหมด
MCB + RCCB วงจรการต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ซึ่งรับหน้าที่เป็นเมน และมีอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด แยกคุมวงจร สำหรับไฟ 1 เฟส ซึ่งกันดูด RCCB 1 ตัว ก็ป้องกันไฟรั่วของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้หลายตัวเช่นกัน แต่ต้องเลือกต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงที่จะไฟรั่วสูงเท่านั้น โดยการต่อกันดูดแบบนี้ ถ้ากันดูดทริป จะไม่ทราบได้ว่าอุปกรณ์ไหนรั่ว และต้องตรวจทีละอุปกรณ์ แต่ก็ตรวจง่ายกว่าแบบแรก เพราะว่าอุปกรณ์ที่ต่อมีน้อยกว่า ซึ่งมีข้อระมัดระวังเพิ่มเติมก็คือ ต้องแยกสายนิวทรัลของอุปกรณ์ในบ้านที่จะต่อผ่านกันดูดให้ชัดเจน ในตู้คอนซูมเมอร์ ควรมีบาร์นิวทรัล 2 ชุด และต้องแยกอุปกรณ์ที่ผ่านกันดูดกับไม่ผ่านกันดูด ห้ามนำมาต่อรวมกัน เนื่องจากกันดูดจะจับกระแสรั่วที่แท้จริงไม่ได้
MCB – RCBO วงจรการต่อแบบมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ซึ่งรับหน้าที่เป็นเมน และมีอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด แบบ RCBO แยกคุมวงจร สำหรับไฟ 1 เฟส สามารถติดตั้งได้ง่าย โดยต่อแทนเซอร์กิตเบรกเกอร์ตัวเก่าได้ทันที เดินสายไฟก็ง่ายเช่นเดียวกัน เพราะมีสายเก่าต่อกับตัวกันดูดแล้ว ถ้ากันดูดทริป ก็ยังใช้งานอุปกรณ์อื่นได้ แต่ราคาจะแพงกว่า 2 วงจรแรก เพราะกันดูด RCBO ต้องแยกแต่ละอุปกรณ์ ต้องใช้มากกว่า 1 ตัว ต่อ 1 วงจร กันดูดที่ใช้ในวงจรนี้ คือ RCBO DSE201
ถ้าเจ้าของบ้านหรือผู้ใช้งานไม่กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แนะนำให้เลือกติดตั้งเบรกเกอร์กันดูดแบบที่ 3 เพราะสะดวกต่อการหาอุปกรณ์ต้นเหตุที่ก่อให้เกิดไฟรั่ว รวมถึงยังสามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นได้ ถ้าเกิดไฟรั่วได้ด้วย