หลักการทำงานของแบตเตอรี่ตะกั่วกรด

แบตเตอรี่ตะกั่วกรด เป็นแบตเตอรี่ที่ได้รับความนิยมที่สุดในยุคปัจจุบัน แบตเตอรี่ตะกั่วกรดมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด หลายประเภท โดยแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว – กรด จัดอยู่ในกลุ่มแบตเตอรี่แบบทุติยภูมิ คือสามารถประจุไฟใหม่ และนำกลับมาใช้งานได้อีก

รูปแสดงโครงสร้างแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรด

ในปัจจุบันแบตเตอรี่ตะกั่วกรด ที่นิยมนำมาใช้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 

  1. แบตเตอรี่ตะกั่วกรดแบบเปียก โดยจะแบ่งแยกย่อยออกเป็นอีก 2 ประเภท คือ แบบที่ต้องเติมและดูแลน้ำกลั่นบ่อย ๆ และแบบที่ไม่ต้องดูแลบ่อย
  2. แบตเตอรี่ตะกั่วกรดแบบแห้ง คือแบบที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น แต่จะมีตาแมวไว้สำหรับเช็คระดับน้ำกรด และการชาร์จไฟ

แบตเตอรี่สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่วกรดมีหลักการทำงาน ดังนี้

แบตเตอรี่จะทำการคายอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งจะกลายเป็นกรดซัลฟิวริกที่มีสถานะเจือจางมาก ๆ ต่อจากนั้นแผ่นตะกั่วที่มีหน้าที่ในการดูดซับกรดซัลฟิวริกจะกลายเป็นตะกั่วซัลเฟต และเมื่อถึงปฏิกิริยาตะกั่วย้อนกลับ ตะกั่วซัลเฟตส่วนใหญ่จะกลับไปเป็นตะกั่วกรดซัลฟิวริกเช่นเดิม ทำให้ปฏิกิริยานี้สามารถแปรผกผันได้ นั่นหมายความว่าเหมือนการบรรจุประจุไฟใหม่ และนำกลับมาใช้งานได้อีก อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่แบบตะกั่วกรดเป็นที่นิยมมากกว่าแบตเตอรี่แบบชนิดอื่นเนื่องจากต้นทุนในการผลิตต่ำ แต่ความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้ากำลังสูงได้ 

วัสดุที่ใช้ในสำหรับเซลล์แบตเตอรี่เก็บกรดตะกั่ว

  • ตะกั่วเปอร์ออกไซด์ (PbO2)
  • ฟองน้ำตะกั่ว (Pb)
  • เจือจางกรดซัลฟิวริก 

ผู้เขียน : ฐิติรัตน์ ทองคำชุม

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *