Earthing System หรือ สายดิน คือตัวนำหรือสายไฟที่เป็นอุปกรณ์ที่ต่อจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่เป็นเส้นทางที่สามารถนำกระแสไฟฟ้าที่เกิดการรั่วไหลหรือไฟรั่วลงไปสู่ดิน ไหลกลับไปยังระบบตัดไฟ เพื่อให้ระบบตัดไฟอัตโนมัติทำงาน หรือไหลลงสู่ดิน เนื่องจากไฟฟ้าสามารถวิ่งจากจุดหนึ่ง ไปอีกจุดหนึ่งได้ สายไฟฟ้าจึงจำเป็นต้องมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการลัดวงจรหรือเรียกว่า ฉนวน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการโดนไฟฟ้าช็อต หรือไฟฟ้าลัดวงจร เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อบุคคล ซึ่งวิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าให้ไม่เกิดไฟรั่วคือ การติดตั้งระบบสายดิน มีหลายอุบัติเหตุทางไฟฟ้าเกิดขึ้นมากมาย ที่ทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการไม่ติดตั้งสายดิน
ซึ่งสายดินตามมาตรฐาน IEC 60364-5-54 (International Electro technical Commission)ได้แบ่งประเภทของสายดิน 2 ประเภท
- สายดินแบบสายไฟ (Earthing wire) ซึ่งเหมาะกับการใช้งานกับสวิตช์บอร์ดซึ่งไม่มีอุปกรณ์ที่ไวต่อแม่เหล็กไฟฟ้า
- สายดินถัก (Earthing braid) ซึ่งเหมาะกับสวิตช์บอร์ดที่มีอุปกรณ์ที่ไวต่อแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อเพิ่มการป้องกันการรบกวนจากแม่เหล็กไฟฟ้า EMC ให้สูงขึ้นและยังป้องกันศักย์ไฟฟ้าอีกด้วย
ซึ่งลักษณะการติดตั้งระบบสายดินจะแบ่งเป็นสายดินของระบบไฟฟ้าและสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า
- สายดินของระบบไฟฟ้า (System Grounding)
เพื่อช่วยให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสทำงานได้รวดเร็วขึ้นเมื่อเกิดการลัดวงจรลงดิน และเพื่อการใช้จำกัดแรงดันเกิน หรือ Over Voltage นั่นเอง ซึ่งสามารถเกิดได้ในส่วนต่างๆของระบบไฟฟ้า เนื่องจากเกิดการสัมผัสโดยบังเอิญจากสายไฟฟ้าแรงสูง หรืออาจเกิดจากความผิดพลาดในระบบ
- สายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า (Equipment Grounding)
เพื่อเป็นทางผ่านแก่กระแสที่รั่วให้ไหลลงสู่ดินและป้องกันกระแสเกินให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วขึ้น เมื่อตัวนำของสายเส้นเฟสแตะเข้ากับส่วนของโลหะ เนื่องจากฉนวนนั้นชำรุด และเพื่อให้ส่วนที่เป็นโลหะนั้นต่อถึงกันตลอดและมีศักดาไฟฟ้าเป็นศูนย์นั่นเอง
หมายเหตุ : แนะนำให้ติดตั้งในท่อโลหะหนา ท่อโลหะปานกลาง ท่อโลหะบาง หรือท่ออโลหะ