ส่วนประกอบหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีอะไรบ้าง ?​

หลอดฟลูออเรสเซนต์มีส่วนประกอบสำคัญ 4 ส่วนดังนี้

  1. ตัวหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Buld)

หลอดแก้วฟลูออเรสเซนต์ มีอยู่หลายลักษณะ เช่น รูปทรงกระบอก รูปวงกลมหรือรูปตัวยู วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการนำไปใช้งานในสถานที่ต่างๆ และมีการจำแนกขนาดตามความกว้างของเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์จะบรรจุก๊าซเฉื่อยปรอท และเคลือบสารเรืองแสง นอกจากนี้หลอดฟลูออเรสเซนต์ยังทำหน้าที่เป็นตัวยึดแคโทด ก๊าซที่จะบรรจุอยู่ในหลอดฟลูออเรสเซนต์จะแตกตัวออกเป็นไอออน เมื่อป้อนแรงดันที่ขั้วแคโทดทั้ง 2 ข้างของหลอดฟลูออเรสเซนต์มีค่าสูงพอ เมื่อก๊าซแตกตัวออกเป็นไอออน ความต้านทางทางไฟฟ้าภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์ก็จะต่ำลงทันที ทำให้กระแสไหลผ่านหลอดฟลูออเรสเซนต์ไปกระทบกับไอปรอทที่บรรจุอยู่ภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์ ไอปรอทนี้จะเปล่างแสงอัลตราไวโอเลตออกมา ซึ่งมีความยาวคลื่นประมาณ 253.7 นาโนเมตร และรังสีที่เกิดขึ้นนี้จะวิ่งไปทั่วทั้งหลอดฟลูออเรวเซนต์ เมื่อไปกระทบกับสารเรืองแสงสว่างที่เคลือบอยู่ที่ผิวด้านในหลอดฟลูออเรสเซนต์จะทำให้เกิดแสงสว่างขี้น

  1. ขั้วของฟลูออเรสเซนต์ (Base)

คือ ขั้วที่อยู่บริเวณหัวและท้ายของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ลักษณะของขั้วของฟลูออเรสเซนต์

จะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ เช่น แบบเป็นขั้วคู่ แบบขั้วเดียว

  1. อิเล็กโทด หรือแคโทด

ภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์จะมีอิเล็กโทดหรือแคโทดเป็นตัวปล่อยกระแสไฟฟ้า อิเล็กโทดหรือแคโทดที่นิยมใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  • แคโทดร้อน จะเป็นตัวปล่อยอิเล็กตรอนเมื่อถูกทำให้ร้อน และอิเล็กตรอนถูกปล่อยได้มากที่อุณกภูมิ 900 องศา
  • แคโทดเย็น อายุการใช้งานจะน้อยกว่าแคโทดร้อน 
  1. สารและแก๊สที่เติมไปในหลอดฟลูออเรสเซน
  • ไอปรอท มีการเติมไอปรอทเข้าไปภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์เมื่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ทำงานไอปรอทจะมีลดปริมาณลงทำให้ความดันในหลอดฟลูออเรสเซนต์ต่ำลงมาก
  • สารเรืองแสง

ส่วนประกอบของหลอดไฟที่มีไอปรอทบรรจุอยู่ผิวด้านในของหลอดฟลูออเรสเซนต์จะถูกฉาบด้วยสารเคมีที่เรียกว่า ฟอสเฟอร์ หรือที่เรียกว่าสารเรืองแสง

ผู้เขียน : ฐิติรัตน์ ทองคำชุม

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *