หลอดฟลูออเรสเซนต์ทำงานอย่างไร

หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) เป็นหลอด Discharge Lamp กำเนิดแสงที่มองเห็นได้ด้วยการที่รังสีอัลตราไวโอแลต ที่เกิดจากการคายประจุของไอปรอทความดันต่ำ ไปกระตุ้นสารเรืองแสง โดย หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลักการทำงานมีดังนี้ หลักการฟลูออเรสเซนต์ จะมีบัลลาสต์ และสตาร์ทเตอร์มาเกี่ยวข้องด้วยตามวงจร โดยบัลลาสต์จะต่ออนุกรมกับหลอด ทำหน้าที่ควบคุมกระแสที่ไหลเข้าสู่ขั้วหลอด ส่วนสตาร์ทเตอร์จะต่อขนานกับขั้วหลอดทั้งสอง ทำหน้าที่จุดหลอดและถูกตัดออกมาจากวงจรเมื่อหลอดติดแล้ว สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์โดยส่วนมากที่ไส้หลอดจะต้องทำการอุ่นก่อนการจุดหลอด ซึ่งการอุ่นจะอาศัยการสตาร์ทเตอร์ อย่างไรก็ตามหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบจุดติดเร็ว ซึ่งมีการอุ่นไส้หลอดตลอดเวลาและหลอดแบบจุดติดทันที ซึ่งไม่ต้องอุ่นไส้หลอด หลอดทั้ง 2 แบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีสตาร์ทเตอร์

หลักการทำให้เกิดแสงของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ภายในของหลอดในส่วนปลายหลอดทั้งสองด้านมีไส้หลอดทำด้วยลวดทังสเตน และเคลือบสารเคมีที่ช่วยให้สามารถกำเนิดอิเล็กตรอนออกมาได้มากๆ ขณะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอด ภายในหลอดแก้วบรรจุก๊าซอาร์กอนและไอปรอท ส่วนที่ผิวด้านในหลอดแก้วเคลือบสารเรืองแสงไว้คือ ผลึกฟอสเฟอร์ (Phosphor Crystal) มองเห็นจากภายนอกหลอดเป็นสีขาวที่ผิวหลอดวิธีการเปล่งแสงออกมาของหลอดคือ เมื่อจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้ที่ไส้หลอดเกิดความร้อนขึ้นมา ทำให้เกิดการแตกตัวของอิเล็กตรอนกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณภายในหลอด มีผลให้อิเล็กตรอนของอะตอมก๊าซอาร์กอนและอะตอมปรอทเกิดการชนกัน การชนกันของอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุทั้งสอง ทำให้เกิดการเรืองแสงอุลตร้าไวโอเลตที่ตาคนมองไม่เห็นออกมา แสงอุลตร้าไวโอเลตวิ่งไปกระทบผลึกฟอสเฟอร์ที่ฉาบผิวด้านในหลอด ผลึกฟิสเฟอร์เรืองแสงสีขาวที่ตาคนมองเห็นออกมาหลอดฟลูออเรสเซนต์จะสามารถทำงานได้ ต้องมีอุปกรณ์ประกอบร่วมกับหลอดด้วย 2 ชนิด คือ บัลลาสต์ (Ballast) และสตาร์ทเตอร์ (Starter) 

ผู้เขียน : ฐิติรัตน์ ทองคำชุม

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *