หม้อแปลงเป็นอุปกรณ์ที่ถ่ายโอนพลังงานไฟฟ้าจากวงจรหนึ่งไปอีกวงจรหนึ่งที่ความถี่เดียวกัน ในระดับแรงดันไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเพิ่มแรงดันไฟฟ้าสำหรับการส่งและการลดแรงดันในการใช้งานนั้นสามารถทำได้โดยการใช้หม้อแปลงแบบแยกชิ้นส่วนขึ้นและลง
หม้อแปลงเพิ่มแรงดัน (Step-up transformer) หรือ หม้อแปลงไฟฟ้าที่เอาท์พุท (รอง) จะมีค่าแรงดันไฟฟ้ามากกว่าแรงดันอินพุท (หลัก) เพื่อการลดกระแสไฟขาออกเพื่อรักษาอินพุตและกำลังไฟของระบบให้เท่ากัน หม้อแปลง step-up จะทำหน้าที่เพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้น เพื่อการส่งจ่ายไฟฟ้าระยะไกลหรือความต้องการใช้งานที่ระดับแรงดันสูงขึ้น เช่น โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มักจะซื้อไฟฟ้าในระดับแรงดันที่สูง เพื่อลดปัญหาของไฟฟ้าตกบ่อยเนื่องจากมีการใช้งานหลายวงจร
โดยหม้อแปลง Step-up จะส่งแรงดันในหลายระดับเช่น 22kvA 24kvA 33kvA 230 kvA 115 kvA 500 kvA เป็นต้น ขึ้นอยู่กับระยะทางของการส่งของระบบส่งจ่าย โดยจะมีหลักการทำงาน เช่น Generate ผลิตกระแสไฟฟ้าที่แรงดัน 690VAC จะจ่ายกระแสไฟฟ้าให้หม้อแปลงในฝั่งของขวดลวดปฐมภูมิ เพื่อเพิ่มขนาดแรงดันขึ้นอยู่กับจำนวนรอบของขดลวดนั้นๆ เป็นขนาดแรงดัน 22 เพื่อส่งต่อไปยัง Substation เพื่อ Step-up เป็นแรงดันที่ต้องการส่งเช่น 115 kvA 230 kvA 500 kvA เป็นต้น
การประยุกต์ใช้งานคือการส่งกำลังสายสำหรับเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ผลิตโดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับการสูญเสียพลังงานของสายส่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกับกำลังสองของกระแสไหลผ่านมัน โดยหม้อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับยังใช้สำหรับสตาร์ทมอเตอร์ไฟฟ้าในเตาอบไมโครเวฟ