อ่านค่ามิเตอร์ได้ง่ายๆ การรู้จักอ่านค่ามิเตอร์นั้นจะได้หมดปัญหาคาใจเรื่องค่าไฟเดือนนี้เราใช้ไปกี่หน่วยกันนะ จะได้คำนวณค่าไฟได้ มิเตอร์ไฟฟ้าแบบมีทศนิยมและแบบไม่มีทศนิยม โดยหน้าปัดมิเตอร์จะมีช่องตัวเลข 4-5 ช่อง แต่ละช่องจะหมุนจนครบรอบ 0-9 ยกตัวอย่างเช่น ต้นเดือนวันที่ 1 เราจดมิเตอร์ไว้ที่ : 56250 ปลายเดือนวันที่ 31 เรามาจดมิเตอร์ได้ : 58022 สรุปในเดือนนั้นใช้ไฟ : 1,772 หน่วย
มิเตอร์ไฟฟ้าแบบมีทศนิยม มิเตอร์จะมีแถบกำหนดเลขหลักมาให้ซึ่งจะอยู่ในด้านล่างหรือด้านบน เพื่อช่วยให้อ่านค่าของมิเตอร์ได้ง่ายขึ้น จะมีจุดเลขทศนิยมเป็นจุดเล็กๆ และแถบสีของหลักหน่วยถึงหลักพันจะมีแถบสีที่ต่างจากหลักทศนิยม โดยตัวเลขช่องขวาสุดคือ ตัวเลขหลักทศนิยม ถัดมาทางด้านซ้ายอีกหนึ่งช่อง เป็นช่องหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย และหลักพันตามลำดับ
มิเตอร์ไฟฟ้าแบบไม่มีทศนิยม มิเตอร์จะมีแถบกำหนดเลขหลักมาให้ซึ่งจะอยู่ในด้านล่างหรือด้านบน เช่นเดียวกับมิเตอร์มีทศนิยม ซึ่งการอ่านค่ามิเตอร์ประเภทนี้จะไม่อ่านค่าในจุดทศนิยม จะอ่านค่าแค่ในหลักหน่วยถึงหลักหมื่น แต่สามารถสังเกตหลักทศนิยมได้ในลักษณะของเส้นขีด และถัดมาทางด้านซ้ายหนึ่งช่องจะเป็น หลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย หลักพัน และหลักหมื่นตามลำดับ