การเดินท่อสายไฟแบบลอย

การเดินท่อสายไฟแบบลอย เป็นการเดินสายไฟที่ทำให้ง่ายต่อการเช็คคุณภาพของสายไฟ เวลาสายไฟเกิดการชำรุด หรือต้องการซ่อมบำรุงเวลาที่เกิดปัญหาขึ้นสามารถแก้ไขได้ง่าย โดยไม่ต้องรื้อผนัง และการเดินท่อสายไฟแบบนี้จะทำให้สายไฟมีอายุยืน อีกทั้งยังใช้เวลาและงบประมาณในการติดตั้งน้อยกว่า เพราะมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน

เป็นการเดินท่อสายไฟให้เลื้อยแนบติดกับเพดานหรือผนัง จะมีสองวิธีที่นิยมกันคือ แบบเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ และการเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ ซึ่งเป็นวิธีการเดินสายไฟที่ใช้งบประมาณต่ำ เป็นวิธีการต่อวงจรของสวิตซ์ไฟที่ทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และนิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีต

การเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การเดินสายไฟแบบเปิด จะเดินสายไฟแบบเปิดให้เห็นสายไฟเป็นเส้นๆ แนบไปกับผนัง สายไฟจะหักงอไปตามคานและเสา จากนั้นจะเชื่อมต่อเต้ารับและเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นการเดินสายไฟโดยมีเข็มขัดรัดยึดสายไฟเข้ากับผนัง หรือเพดานของอาคาร ทุกระยะประมาณ 10 ซม. ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตู้ไฟหรือแผงวงจร เต้ารับ และสวิตช์ สายไฟที่ใช้จะเป็นสายที่หุ้ม PVC หรือฉนวนยาง ที่นิยมใช้กันจะเป็นสาย VAF ลักษณะสายแบน สีขาว ภายในสายจะมีลวดทองแดง 2 แกนหรือ 3 แกน หุ้มด้วยฉนวน 2 ชั้น

ส่วนอีกรูปแบบแบบคือ การเดินสายไฟแบบร้อยสายผ่านท่อพีวีซี ท่อเหล็กแบบยึดผนัง เป็นลักษณะไม่ได้ซ่อนฝังไว้ใต้ผนัง จะสามารถเลือกใช้ท่อร้อยสายไฟได้ ทั้งแบบโลหะ และแบบพลาสติก PVC โดยหากต้องการโชว์ความสวยงาม ควรใช้ท่อโลหะที่ให้ความแข็งแรงและทนทาน แต่ท่อพลาสติกจะมีราคาถูกกว่า ซึ่งสามารถทาสีทับที่ท่อได้เพื่อกลมกลืนกับผนังและสร้างความสวยงาม

ข้อเสียคือ ดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย และไม่สวยงาม จึงต้องใช้ความปราณีตในการติดตั้ง เพื่อความสวยงาม ทั้งในแบบ ติดกิ๊บ และแบบท่อ สวิตช์ ที่ติดตั้งต้องติดลอยออกมาจากผนัง หากต้องการติดตั้งสายไฟจำนวนมาก  โดยเฉพาะแบบตีกิ๊บ เพราะหากมีเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก อาจจะทำให้สายไฟดูรกเต็มผนังบ้าน ทำให้ดูรกไม่สวยงาม และต้องวางแผนการจัดวางเฟอร์นิเจอร์มากขึ้น อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สำหรับอุปกรณ์ เช่น สีสำหรับทาท่อร้อยสายไฟ เพื่อให้กลมกลืนกับสีผนัง และที่สำคัญ สำหรับการร้อยสายไฟในท่อ ต้องระวังไม่ให้สายไฟแออัด และมีความยาวเหมาะสม เพื่อป้องกันการลัดวงจรจากการกดทับในที่แคบ หากช่างใช้ท่อร้อยสายไฟผิดประเภทหรือคุณภาพไม่ดี มีการต่อฝากที่ไม่เหมาะสมเพราะต้องการลดต้นทุน จะทำให้มีปัญหาตามมาภายหลังได้ การเดินไฟแบบลอยยังทำให้ปลั๊กไฟและสวิตช์ไฟที่รองรับจะต้องติดตั้งยื่นออกมาจากผนัง จึงต้องเช็คดูเรื่องระยะความลงตัวในการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ด้วยกรณีที่บ้านคุณเป็นสไตล์ลอฟท์หรือโชว์อิฐ การเดินท่อสายไฟด้วยท่อโลหะแบบลอยจะยิ่งเพิ่มความสวยงามให้กับบ้าน

การเดินสายไฟแบบลอยจะเหมาะกับบ้านทั่วไป เช่น บ้านไม้ บ้านปูนฉาบเรียบ บ้านร่วมสมัย เป็นต้น และการเดินไฟแบบร้อยท่อนั้นจะเหมาะกับบ้านที่โชว์ความดิบของโครงสร้างเหมาะกับบ้านแบบ ปูนเปลือยสไตล์ลอฟท์อย่างมาก 

ผู้เขียน : นาถชนก สารโภค

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *