สายไฟฟ้า ตัวนำประธานอากาศ

สายไฟที่ใช้คือตัวนำประธานอากาศ จะมีขนาดเพียงพอต่อการโหลดไฟฟ้าและมีความทนทาน ต่อสภาพภายนอก เช่น ทนฝนได้ทนแดดได้

ข้อกำหนดตัวนำประธาน

  1. เป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนเท่านั้นโดยทั่วไปจะใช้สาย IEC 01,NYY,XLPE ทนแดดทนฝนได้ดี
  2. ขนาดเล็กสุด คือ 4mm

การติดตั้ง

      การติดตั้งตัวนำประธานอากาศ เพื่อความปลอดภัยต้องมีระยะห่างจากสิ่งก่อสร้างตามมาตรฐาน วสท.

ตัวนำประธานใต้ดินระบบแรงต่ำ

       การเดินตัวนำประธานแรงต่ำใต้ดินต้องพิจารณา ถึงสายไฟที่ใช้และการติดตั้ง

สายไฟ

ต้องมีความแข็งแรง คงทนป้องกันน้ำและความชื่นได้

  • ต้องเป็นสายตัวทองแดงชนิดที่ฝังใต้ดินโดยทั่วไป NYY XLPE
  • ขนาดเล็กสุดที่ใช้ได้คือ 10mm
  • ขนาดสอดคล้องกับขนาดมิเตอร์

บริภัณฑ์ประธานในระบบแรงต่ำ

  • บริภัณฑ์ประธานจะประกอบไปด้วยตัวป้องกันกระแสเกิน และเครื่องปลดวงจร
  • อุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้เป็นบริภัณฑ์ ประธานในระบบแรงดันต่ำ มีอยู่ 2 ชนิด คือ

1.Circuit Breaker

2.ฟิวส์ และสวิตช์สำหรับตัดโหลด

      เซอร์กิตเบรกเกอร์จะทำหน้าที่เป็นเครื่องป้องกันและปลดวงจรกระแสไฟในตัว ฟิวส์ ทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันกระแสฟินและสวิตช์สำหรับตัดโหลด จะทำหน้าที่เป็นเครื่องเครื่องปลดวงจร

ข้อกำหนดสำหรับติดตั้งบริภัณฑ์ประธาน

  1. บริภัณฑ์ประธานติดตั้งได้ ทั้งภายนอกอาคารและภายในอาคาร แต่ต้องติดตั้งอยู่ในกล่อง หรือเครื่องห่อหุ้ม ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าและการป้องกันประกายไฟสู่ภายนอก
  2. ควรมีป้ายแสดงว่าเป็นบริภัณฑ์ ประธานจ่ายโหลดส่วนใดให้ชัดเจน
  3. ตำแหน่งที่ติดตั้งประธาน จะต้องไกล้กับตัวนำประให้มากที่สุด
  4. อุปกรณ์ที่อนุญาตต่อทางด้านไฟเข้าของบริภัณฑ์ประธาน ดังนี้
  5. ระบบฉุกเฉินต่างๆ เช่นเครื่องแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบสัญญาณกันอันตราย เครื่องสูบน้ำ ดับเพลิง ระบบเตือนอัคคีภัย เป็นต้น
  6. เครื่องป้องกันไฟฟ้า
  7. คาปาชิเตอร์
  8. เครื่องวัด และอุปกรณ์ต่อเข้าเครื่องวัด เช่น CT VT
  9. วงจรควบคุม และจ่ายไฟฉุกเฉินให้บริภัณฑ์ประธาน

รูปจาก https://blog.rmutl.ac.th/montri/assets/ee10.pdf

  1. บริภัณฑ์ประธานจะต้องสามารถเข้าถึงได้สะดวก
  2. จะต้องมีที่ว่างปฏิบัติงาน และแสงสว่างที่เพียงพอ

เครื่องปลดวงจร

ข้อกำหนดสำหรับเครื่องปลดวงจร

  1. เครื่องปลดวงจร จะต้องเนชนิดปลด-สับ ได้ขณะมีไฟฟ้าโหลด คือ
  2. เครื่องปลกวงจร 1 เฟส ขนาด 50A ขึ้นไป
  3. เครื่องปลดวงจร 3 เฟส ทุกชนิด
  4. ระบบ 3 เฟส ต้องใช้เครื่องปลดวงจรชนิด 3 ชั้น หรือ 4 ขั้ว เพื่อให้สามารถปลดตัวนำทั้งสามได้พร้อมกันหมด
  5. เครื่องปลดวงจรจะต้องมีเครื่องหมายบอกตำแหน่ง สับ ปลด ชัดเจน
  6. กรณีเครื่องปลดวงจร เป็นสวิตช์สับเปลี่ยนจะต้องมี interlock เพื่อป้องกันไฟชนกัน

รูปจาก https://blog.rmutl.ac.th/montri/assets/ee10.pdf

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *