การต่อลงดิน ( Grounding )

กำหนดที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งในการออกแบบ และ ติดตั้งระบบไฟฟ้า คือ การต่อลงดิน มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้ที่สำคัญๆ ของโลก เช่น NEC และ IEC ต่างก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

NEC Article 250 ” Grounding and Bonding “

364-5-54 ” Earthing Arrangement and Protective Cond

       สำหรับไทยนั้น วิศวกรรมสถานแห่งประทศไทย การต่อลงดิน “ในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย

หนดในการต่อลงดินของ วสท. ส่วนมากแปลและเรียบเรียงจาก NEC Araticle 250

      การต่อลงดิน มีประโยชน์อยู่ 2 ประการ คือ

1.เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับบุคคลที่บังเอิญไปสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องบริภัณฑ์ไฟฟ้า และ

ส่วนประกอบอื่นๆ ที่มีแรงดันไฟฟ้า เนื่องจากการรั่วไหล หรือ การเหนี่ยวนำทางไฟฟ้า

2.เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอุปกรณ์ หรือ ระบบไฟฟ้าเมื่อเกิดการลัดวงจรลงดิน

      ชนิดการต่อลงดินและส่วนประกอบต่างๆ

การต่อลงดินสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า ( System grounding )

2.การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ( Equipment Grounding )

       การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า หมายถึง การต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบไฟฟ้าที่มีกระแสไหลผ่านลงดิน เช่น การต่อจุดนิวทรัล ( Neutral Point ) ลงดิน

       การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า หมายถึง การต่อส่วนที่เป็นโลหะที่ไม่มีกระแสไหลผ่านของอุปกรณ์ต่างๆ ลงดินการต่อลงดินมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ

1.ลักดิน หรือ ระบบหลักดิน ( Grounding Electrode or Grounding Electrode )

2.สายต่อหลักดิน ( Grounding Electrode Conductor )

3.สายที่มีการต่อลงดิน ( Grounded Conductor )

4.สายต่อฝากหลัก ( Main Bonding Jumper )

5.สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ( Equipment Grounding Conducto )

6.สายต่อฝากบริภัณฑ์ไฟฟ้า ( Equipment Bonding Jumpe )



ผู้เขียน : กิตติพงศ์ ทองเงิน

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ



ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *