หม้อแปลงแต่ละประเภท ( Transformers)

ที่ใช้ในนระบบจำหน่ายไฟฟ้า เรียกกว่า หม้อแปลงจำหน่าย ( Distribution Transformers) ซึ่งจะแปลงแรงดัน ไฟฟ้า จากระบบแรงดันปานกลาง ( MV / ไปเป็นระบบแรงดันต่ำ ( LV/ โดยทั่วไปหม้อแปลงชนิดนี้จะมีพิกัดถึง 2000 KVA

แต่ในบางกรณีอาจมีพิกัดสูงถึง 3150 kVA

     ชนิดของหม้อแปลง

      หม้อแปลงตามปกติเรียกชื่อตามวัสดุที่ใช้เป็นแบบฉนวน และ ระบายความร้อน หม้อแปลงจำหน่ายที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน มี 2 แบบ คือ

 -หม้อแปลงแบบใช้ของเหลว ( Liquid-immersed Transformers )

 -หม้อแปลงแห้ง ( Dry-Type Transformers )

    หม้อแปลงแบบใช้ของเหลว ( Liquid-immersed Transformers) ของเหลวที่นิยมใช้เป็นฉนวน และ ตัวระบายความร้อน คือ น้ำมันหม้อแปลง ( Mineral Oil ) และของเหลวที่ติดไฟยาก ( Less Flammable Liquid )แปลงน้ำมัน ( Oil-type Transformers  เป็นหม้อแปลงที่ใช้น้ำมันหม้อแปลงเป็นฉนวนและเ

ความร้อนด้วย หม้อแปลงน้ำมันนิยมใช้กันมากกับงานภายนอกอาคาร เนื่องจากมีราคาถูก แต่ถ้านำมาใช้ภายในอาคารจะต้องมีการสร้างห้องพิเศษซึ่งสามารถป้องกันไฟได้ เนื่องจากน้ำมันสามารถติดไฟได้ โดยมี

จุดติดไฟ ( Fire Point ) ที่ 165 ㆍC

        หม้อปลงแบบใช้ของเหลวติดไฟยาก( Less-Flammable Liquid-insulated Transformers)

       เป็นหม้อแปลงชนิดที่ใช้ของเหลวที่ติดไฟยากเป็นฉนวนและระบายความร้อน โดยทั่วไปนิยมใช้สารซิลิโคน ( Silcone ) ซึ่งมีจุดติดไฟที่ 343*C ไม่เป็นพิษ และไม่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม หม้อแปลงแบบใช้ของเหลวติดไฟ

ยากอนุญาตให้ติดตั้งภายในอาคารได้

       หม้อแปลงแห้ง ( Dry-type Transformers )

         หม้อแปลงแห้งเป็นหม้อแปลงที่ใช้ฉนวนเป็นของแข็ง โดยทั่วไปนิยมใช้สารเรซิน ( Resin ) อัดระหว่างขดลวดของ

หม้อแปลง จึงเรียกว่า Cast Resin Transformers สารเรซินมีจุดติดไฟที่ 350 C มีความแข็งแรงทนทาน หม้อแปลงประเภท

นี้นิยมใช้ติดตั้งภายในอาคาร

          ในปัจจุบัน หม้อแปลงที่นิยมใช้กันมาก คือ หม้อแปลงน้ำมัน และ หม้อแปลง Cast Resin จึงจะกล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป

        หม้อแปลงน้ำมัน ( Oil-type Transformers )

หม้อแปลงน้ำมัน เป็นหม้อแปลงมีการใช้กันมากที่สุด เนื่องจากใช้งานได้ดี และ มีราคาถูก เหมาะสำหรับการติดตั้งนอกอาคาร

          ปัจจุบันได้มีการทำหม้อแปลงที่มีตัวถังปิดผนึก ( Hermetically Sealed Tank ) ขึ้น หม้อแปลงแบบนี้ไม่มีถังพัก

และไม่ต้องมี Siica Gel จึงสามารถป้องกันความชื้นได้อย่างสมบูรณ์ หม้อแปลงแบบนี้จึงไม่ต้องการการบำรุงรักษา และ

กำลังได้รับการนิยมใช้มากขึ้น

        หม้อแปลงปิดผนึกมีปัญหาที่ต้องแก้คือ กาขยายตัวของน้ำมันขณะจ่ายโหลดหรือ เกิดการลัดวงจรหม้อแปลงปิดผนึกอย่างน้อยสองแบบที่จะแก้ปัญหานี้คือ

       1.หม้อแปลงปิดผนึกแบบใช้ก๊าซไนโตรเจน หม้อแปลงแบบนี้จะอัดก๊าซไนโตรเจนเข้าเหนือน้ำมันเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับการขยายตัวของน้ำมัน

       2.หม้อแปลงปิดผนึกแบบผนังเป็นลอนคลื่น ( Corrugated ) หม้อแปลงแบบนี้ออกแบบให้ผนังสามารถระบาย ความร้อนด้วยลอนคลื่น ขณะเดียวกันตัวถังสามารถยืดหยุ่นได้ เพื่อรองรับการขยายตัวของน้ำมัน

       หม้อแปลง Cast Resin ( Cast Resin Transformers )

       ในการติดตั้งหม้อแปลงภายในอาคาร จะนิยมใช้หม้อแปลงแห้ง เนื่องจากจะมีความปลอดภัยจากอันตรายที่อาจจะเกิดจากการระเบิดเนื่องจากน้ำมันของหม้อแปลงน้ำมัน หม้อแปลงแห้งที่นิยมใช้กันมากคือ หม้อแปลง Cast Resin ซึ่งเป็นหม้อแปลงที่ระหว่างขดลวดอัดด้วย Cast Resin Reinforced Glass Fiber ซึ่ง Resin จะมีคุณสมบัติติดไฟได้ที่ อุณหภูมิสูงถึง 350 *C ทำให้หม้อแปลงชนิดนี้ติดไฟได้ยาก



ผู้เขียน : กิตติพงศ์ ทองเงิน

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ



ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *