โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 3 ประเภท แหล่งพลังงานคู่ชีวิตคนไทย

พลังงานทางน้ำ ที่เกิดขึ้นจากทรัพยากรทางน้ำนั้น ถือว่าเป็นพลังงานที่สำคัญ ที่จะช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน ให้ดำเนินต่อไปได้ น้ำนั้น ถือว่าเป็นที่อุปโภคและบริโภคของผู้คนมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเท่านั้น น้ำ ยังถือว่าเป็น แหล่งพลังงาน ที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า จนทำให้เกิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ที่ได้สร้างแสงสว่างมาให้กับผู้คนได้ใช้กันจนมาถึงในยุคปัจจุบันอย่างมีความสุข ดังนั้น วันนี้ เราจะพามาทำความรู้จักกับ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 3 ประเภท ที่อยู่คู่ชีวิตคนไทยมาอย่างช้านาน โดยจะมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ไฟฟ้าพลังงานน้ำ

คือการที่เอาพลังงานของน้ำที่ไหลมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังจากการไหลของน้ำนั้นถูกมนุษย์นำมาใช้มานานหลายยุค โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (water wheel) เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในยุคโรมัน เช่นสีข้าวโม่แป้งจาเมล็ดพืชต่าง และในจีนก็ใช้ในการวิดน้ำเพื่อชลประทาน ซึ่งในตอนนั้นกำลังเฟื่องฟูในการเอาพลังน้ำมาประยุกต์สิ่งต่างๆ จนทำให้เกิดการพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน

เขื่อน

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 3 ประเภท ที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านาน ได้แก่

  1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำ จากอ่างเก็บน้ำ 

ถือว่าเป็นโรงไฟฟ้า ที่พบได้บ่อย และเห็นกันมาอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะมีหลักการทำงานด้วยการกักเก็บน้ำไว้ภายในเขื่อน โดยจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้จากการปล่อยน้ำจากอ่างผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำเป็นต้องมีความสูงระหว่างอ่างและท้ายน้ำอย่างมาก

  1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำ แบบน้ำไหลผ่านตลอดปี

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำชนิดนี้ จะไม่มีอ่างกักเก็บน้ำบริเวณต้นน้ำ แต่จะปล่อยให้น้ำไหลผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในทันที มีข้อเสียตรงที่ไฟฟ้าที่ผลิตเกินมานั้น จะสูญเปล่า เนื่องจากไม่สามารถกักเก็บไว้ได้

  1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำ แบบสูบกลับ

มีหลักการทำงานเหมือนแบตเตอรี่ น้ำที่ปล่อยไหลผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้น จะสามารถสูบกลับไป เพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้อีกครั้งได้ โดยทำการปล่อยน้ำไหลผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอีกครั้ง วนไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องกลัวว่าน้ำภายในอ่างจะหมดไป

ประโยชน์พลังงานน้ำ

 1. พลังงานน้ำเป็นพลังงานที่หมุนเวียนใช้งานได้ไม่หมดสิ้น และเป็นพลังงานสะอาด ที่เป็นที่นิยมเป็นพลังงานที่พึ่งพาอาศัยกัน

2. เครื่องกลพลังงานน้ำสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและสามารถควบคุมพลังงานได้ มีประสิทธิภาพสูงและเครื่องกลมีความคงทนและมีอายุการใช้งานนานกว่าเครื่องจักรกลอย่างอื่น

3. เป็นพลังงานใช้แล้วไม่ส่งผลเสียต่อธรรมชาติและมีคุณภาพเหมือนเดิมส่งให้ใช้งานอย่างอื่นได้อีก เช่น เพื่อการชลประทาน หรือ การรักษาระดับแม่น้ำให้ไหลลึกพอแก่การเดินเรือ

4. การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ เอาไว้ใช้ในฤดูการที่แห้งแล้ง เพื่อชลประทาน และได้ประโยชน์มากมายแถมยังรักษาระบบนิเวศ

พลังงานจากน้ำแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

  • 1.โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากอ่างเก็บน้ำ (Conventional)

         โรงไฟฟ้าที่เป็นที่นิยมทั่วไปมาก หลักการทำงานคือ นำน้ำที่เก็บไว้มาใช้โดยการปล่อยน้ำเมื่อต้องการผลิตไฟฟ้า  โรงไฟฟ้าประเภทนี้ในประเทศไทยมีหลายแห่ง เช่น เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิต์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี

เขื่อน

เขื่อนภูมิพล จ.ตาก

รูปจาก  https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2517:art20180511-01&catid=49&Itemid=251

  • 2.โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run-of-the-river)

        ประเภทนี้ไม่ได้ทำการเก็บน้ำไว้ต้นน้ำ แต่ให้การปล่อยน้ำไหลเป็นธรรมชาติผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเมื่อน้ำไหลผ่านก็ผลิตไฟฟ้าได้ทันที ข้อเสียคือการเก็บพลังงานไว้ได้ไม่มากนัก

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี

รูปจาก  https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2517:art20180511-01&catid=49&Itemid=251

  • 3.โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-Storage)

        การผลิตไฟฟ้าประเภทนี้เปรียบได้เหมือนกับแบตเตอรี่พลังงานน้ำ อ่างเก็บน้ำประเภทนี้สามรถสูบน้ำกลับไปเก็บในอ่างน้ำได้เพื่อหมุนเวียนของน้ำได้ ทำให้น้ำไหลลงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ในไทยมีเขื่อนแบบนี้เช่น โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เชื่อภูมิพล เครื่องที่8 และเขื่อนศรีนครินทร์ เครื่อง 4-5

อ่างเก็บน้ำ

อ่างเก็บน้ำบนของโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา

รูปจาก  https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2517:art20180511-01&catid=49&Itemid=251

       การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความต้องการ ประโยชน์ พื้นที่ที่มีความเหมาะสม ภูมิประเทศ และการชลประทาน

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน ขวัญหทัย ลิ้มประเสริฐ

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

พลังงานทางน้ำ, แหล่งพลังงาน, โรงไฟฟ้าพลังน้ำ, ไฟฟ้าพลังงานน้ำ