การตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน

ตรวจวัด

หากไม่ได้เป็นบุคคลที่อยู่ในแวดวงการไฟฟ้าต่างๆ คงเข้าใจได้ยาก หรืออาจจะไม่เข้าใจ ไม่เคยได้ยิน เกี่ยวกับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนมาก่อน บทความนี้จะขอนำความรู้เรื่องดังกล่าวมาฝาก 

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน เป็นการใช้กล้องถ่ายที่ใช้สำหรับตรวจสอบระบบไฟฟ้าถ่ายไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เครื่องจักรต่างๆ หม้อแปลงไฟฟ้า  มอเตอร์ เป็นต้น ซึ่งหากพบว่าอุปกรณ์ใดมีความผิดปกติ บริเวณจุดนั้นจะแสดงจุดความร้อนขึ้นทันที ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ช่วยให้ซ่อมแซมและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ปัจจุบันหลายโรงงานนิยมนำไปประยุกต์ใช้ตรวจสอบเครื่องจักรขนาดใหญ่ เพราะสามารถมองเห็นความร้อนภายในระบบได้ในระยะไกลอย่างชัดเจน อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบได้ขณะที่กระบวนการผลิตยังดำเนินการอยู่และเมื่อตรวจพบสิ่งผิดปกติแล้วก็ทำให้สามารถวางแผนการบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลดความสูญเสียและระยะเวลากระแสไฟฟ้าขัดข้องในกระบวนการผลิตได้ทำให้ระบบไฟฟ้ามีความเชื่อถือได้และมีความมั่นคงสูง โดยในการตรวจสอบจะมีผู้ให้บริการและผู้รับบริการ  ซึ่งผู้ให้บริการต้องทราบปริมาณของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต้องเข้าไปตรววจสอบเพื่อวางแผนก่อนการตรจสอบ ขณะเดียวกันผู้รับบริการก็ต้องทราบปริมาณของอุปกรณ์ที่จะให้ตรวจสอบเช่นกัน พร้อมทั้งทราบตำแหน่งด้วย ทั้งสองฝ่ายควรทำความเข้าใจเงื่อนไขและข้อตกลงกันก่อน

ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบระบบไฟฟ้าควรดำเนินการตั้งแต่ระบบไฟฟ้าแรงสูงไปสู่ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและทำให้การทำรายงานมีความต่อเนื่องและในกรณีที่โรงงานหรือบริษัทมีหลายอาคารควรตรวจสอบทีละอาคารเพื่อป้องกันความสับสนในการทำรายงาน ซึ่งอุปกรณ์แต่ละประเภทภายในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลายชนิดโดยมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันและมีจุดเพื่อการตรวจสอบหาสิ่งผิดปกติที่แตกต่างกันไป 

ยกตัวอย่างเช่น 

  • หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า (PT) และหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า (CT) สำหรับชุด metering ต่างๆ ถ้าเป็นระบบไฟฟ้าแรงดันสูงและปานกลางจะประกอบด้วย PT และ CT แต่ถ้าเป็นระบบแรงดันต่ำจะประกอบด้วย CT ซึ่งสิ่งที่จะต้องตรวจสอบด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนนั้นจะประกอบด้วย จุดต่อและขั้วไฟฟ้าภายนอกต่างๆ และการวัดอุณหภูมิ CT หรือ PT เปรียบเทียบกันระหว่างเฟสว่ามีอุณหภูมิใกล้เคียงกันหรือไม่ ถ้าพบว่าอุณหภูมิ CT หรือ PT ใดมีค่าสูงกว่าประมาณ 10-15°C  ให้สันนิษฐานว่าจะเกิดสิ่งผิดปกติภายในตัว CT หรือ PT
  • เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นอุปกรณ์ป้องการกระแสเกินเพราะการทำงานมากเกินไปและการลัดวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบต่างๆที่จะต้องตรวจสอบ ได้แก่ จุดต่อและขั้วไฟฟ้าต่างๆ หากพบความร้อนภายในตัวเซอร์กิตเบรกเกอร์เนื่องจากหน้าสัมผัสภายในชำรุด (Bad Contact)
  • สวิตซ์ตัดตอนแรงสูง เป็นอุปกรณ์ปลดและสับขณะวงจรไฟฟ้าไม่มีโหลด โดยต้องตรวจสอบ บริเวณจุดต่อและขั้วไฟฟ้าต่างๆ จุดหมุนที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน สวิตซ์ตัดตอนแรงสูงบางแบบนั้นจะประกอบด้วยฟิวส์แรงสูงซึ่งอาจจะเกิดอุณหภูมิสูงภายในกระบอกฟิวส์เนื่องจากเส้นฟิวส์ภายในเกิดการหลอมละลายทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อเทียบกับฟิวส์ชุดอื่นๆเมื่อทำงานที่สภาพโหลดใกล้เคียงกัน
  • ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันการเกิดลัดวงจรไฟฟ้า ต้องตรวจสอบจุดต่อและขั้วไฟฟ้าต่างๆ การเกิดความร้อนภายในกระบอกฟิวส์เนื่องจากเส้นฟิวส์ภายในเกิดการหลอมละลายทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อเทียบกับฟิวส์ชุดอื่นๆเมื่อทำงานที่สภาพโหลดใกล้เคียงกัน

 ทั้งนี้ทุกอุปกรณ์ตามที่ยกตัวอย่างนั้นต้องตรวจสอบด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน

บริเวณจุดเข้าหัวสายหรือหางปลาต่างๆ (Cable Lug) ด้วยกันทั้งสิ้น 

สำหรับการเกิดความร้อนแบบต่างๆในระบบไฟฟ้าผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าจะสังเกตได้ว่ากล้องถ่ายภาพความร้อนจะตรวจจับความแตกต่างของอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว ซึ่งการตรวจสอบบางครั้งพบว่าอุปกรณ์มีอุณหภูมิต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยอาจจะเกิดจากไม่มีโหลดหรือเครื่องจักรต่างๆไม่ทำงาน บางครั้งอาจจะทำให้ผู้ตรวจสอบสับสนและวิเคราะห์สาเหตุผิดพลาดได้ การเกิดความร้อนสามารถเกิดได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • การสะท้อนจากแหล่งความร้อนต่างๆ
  • การแผ่รังสีอินฟราเรดจากดวงอาทิตย์เมื่อตรวจสอบภายนอกอาคาร
  • การทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและโหลดทางไฟฟ้า
  • ความแตกต่างของค่า Emissivity ของวัสดุหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ตรวจสอบ
  • การเหนี่ยวนำของกระแสไฟฟ้าไหลวน
  • ความต้านทาน (จุดต่อต่างๆ,การกวดขันไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกวิธี)

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากภายนอกอื่นๆอีก เช่น ความชื้นในอากาศสูงเกินไปหรือการตรวจสอบระบบไฟฟ้าขณะฝนหยุดตกได้ไม่นาน ความเร็วของลมบริเวณตรวจสอบ ระยะห่างระหว่างวัตถุที่ตรวจสอบกับตำแหน่งกล้องถ่ายภาพความร้อน และการตรวจสอบระบบไฟฟ้าบริเวณที่มีความเข้มสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสูง ดังนั้นการปรับตั้งพารามิเตอร์และการตรวจสอบในเวลาที่เหมาะสม, บริเวณและตำแหน่งที่เหมาะสมจึงมีผลอย่างยิ่งต่อความถูกต้อง

อย่างไรก็ตามการตรวจสอบที่จะมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ การที่ผู้รับบริการมีความรู้เบื้องต้น ผู้ให้บริการเป็นผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความน่าเชื่อถือและทั้งสองสามารถทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขของการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้อุปกรณ์ไฟฟ้ามีความปลอดภัยสูงสุด

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน ชญาภรณ์  ภูงามเงิน

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

กล้องถ่ายภาพความร้อน

ช่างไฟดอทคอม เป็นเว็บไซต์ ช่างไฟฟ้า ซึ่งบริการ งานช่างไฟฟ้า 24 ชม หรือ งานซ่อมบำรุง ระบบ ช่างไฟฟ้าเร่งด่วน สามารถโทรเข้าเรียกใช้บริการ ช่างไฟฟ้าใกล้ฉัน มองหาช่างไฟฟ้าบ้าน ช่างไฟฟ้าใกล้บ้าน ช่างไฟฟ้าอาคาร หรือ ช่างไฟฟ้าโรงงาน สอบถามบริการช่างไฟฟ้า เรามีทีมงาน ช่างไฟฟ้า คอยให้บริการ คอยตอบคำถาม ..ทักช่างไฟฟ้า ขอใบเสนอราคาช่างไฟดอทคอม บริษัทเออีซีเอ็นจิเนียริงจำกัด

ขั้นตอนการใช้บริการ

แอดไลน์ > แจ้งปัญหา > รอราคา > ตกลงราคา > รับบริการ

ขั้นตอนการให้บริการ
ไลน์ OA