การทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้มีความปลอดภัย / วิธีป้องกัน
- ควรมีป้ายเตือนเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายจากไฟฟ้า และติดตั้งป้ายทางออกฉุกเฉิน
- ควรสวมใส่รองเท้า และ PPE ขณะทำงาน ใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทการทำงานและแรงดันทางไฟฟ้า ซึ่งมีหลักการป้องกัน เช่น การใช้งานส่วนห่อหุ้มเพื่อเป็นฉนวนบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้าการต่อวงจรและการเว้นระยะห่างเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการทำงาน
- ตรวจสอบความชำรุดของอุปกรณ์ก่อนใช้งานทุกครั้ง
- มีการติดตั้งระบบป้องกันการเกิดฟ้าผ่า ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน ระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้และแจ้งเตือนภัย
- มีการติดตั้งอุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล
- มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ เช่น ความแน่นหนาของจุดต่อสายไฟ อายุการใช้งานสายไฟ เป็นต้น
- ใช้เทปพันสายไฟบริเวณรอยต่อของสายไฟ
- เขียนวงจรไฟฟ้าก่อนทำงาน และตรวจสอบวงจรไฟฟ้าก่อนปล่อยกระแสไฟฟ้าไหล เมื่อมีความปลอดภัยหลังจากการทำงาน
- เลือกใช้งานอุปกรณ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเลือกใช้งานขนาดสายไฟให้เหมาะสม
- ไม่ควรใช้งานอุปกรณ์ที่มีขนาดแตกต่าง หรือใช้งานอุปกรณ์ผิดประเภท เช่น ใช้งานลวดทองแดงแทนฟิวส์
อันตรายเกี่ยวกับไฟฟ้า
- ไฟฟ้าดูด เมื่อมีการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าและสัมผัสร่างกาย ซึ่งมีแรงดันทางไฟฟ้าแตกต่างกันระหว่าง 2 จุดสัมผัส ทั้งนี้ความรุนแรงจากไฟฟ้าดูด มีผลจากระยะเวลาในการสัมผัส ความต้านทานของร่างกาย ขนาดและเส้นทางการไหลของกระแสไฟฟ้า
- ไฟฟ้าลัดวงจร เมื่อเกิดการสัมผัสระหว่าง 2 จุด ของสายไฟที่มีแรงดันทางไฟฟ้าเกินขนาด หรือเกิดการสัมผัสระหว่างสายไฟและสายดิน หรือจากการชำรุดของฉนวนไฟฟ้า ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย เพลิงไหม้ และความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า
- ประกายไฟจากการอาร์ก เมื่อมีแรงดันทางไฟฟ้าตกคร่อมช่องว่างระหว่างตัวนำซึ่งมีค่าสูงเกินกว่าความคงทนของ Dielectric และมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอากาศ ส่งผลให้เกิดการปล่อยประจุไฟฟ้าในลักษณะแสง ความร้อนและการหลอมละลาย ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย แผลไฟฟ้าไหม้ และความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า
- ระเบิดจากการอาร์ก เมื่อมีอากาศซึ่งได้รับความร้อนและเกิดขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอุณหภูมิและแรงดันสูง หรือเกิดการกระแทก กระเด็นออกจากพื้นที่
- เพลิงไหม้ เมื่อเกิดความร้อนจากการใช้งานเกินกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ต่างๆ หรือความแน่นหนาการต่อสายไฟ หรือการใช้งานหลายอุปกรณ์ผ่านการพ่วงในเวลาเดียวกัน
HOTLINE-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
ผู้เขียน เกตน์สิรี รัตนแก้วมณี
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ