ข้อมูลทั่วไป
ปลาไหลไฟฟ้า เป็นปลาน้ำจืดมักพบบริเวณป่าอเมซอน อยู่ในตระกูลปลาใบมีด (Knife fish) มีลักษณะคล้ายปลากรายหรือปลาดุก และมีขนาดใหญ่กว่าปลาไหลทั่วไป ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 เมตร มีคุณสมบัติในการปล่อยกระแสไฟฟ้าของปลาไหลไฟฟ้ายังคงมีปลาชนิดซึ่งสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เช่นกัน ได้แก่ ปลากระเบน หรือปลาดุก เป็นต้น ทั้งนี้ปลาไหลไฟฟ้าสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้มีความรุนแรงมากที่สุดจึงถือเป็นคุณสมบัติเด่นโดยภายในตัวของปลาไหลไฟฟ้า เกิดการสั่งการของสมองและเกิดการไหลเวียนของสารเคมีบางประเภทต่อเซลล์ประสาททำงานในลักษณะพิเศษและเซลล์กล้ามเนื้อเป็นจำนวนหลายเซลล์พร้อมกัน โดยแต่ละเซลล์ปล่อยกระแสไฟฟ้าในปริมาณน้อยกว่า 0.1 โวลต์ แต่เมื่อเกิดการปล่อยกระแสไฟฟ้าจากเซลล์พร้อมกันจะได้รับกระแสไฟฟ้าสูงถึง 500 โวลต์ หรืออาจปล่อยกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 860 โวลต์ จึงส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าอย่างรุนแรง ซึ่งเซลล์ดังกล่าว เรียกว่า อวัยวะไฟฟ้า (electric organ) เมื่อเกิดการปล่อยกระแสไฟฟ้าจะส่งผลให้สิ่งมีชีวิตที่ได้รับกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเกิดอาการขยับตัวไม่ได้ชั่วขณะหนึ่ง(Stun)และจึงกลายเป็นอาหารของปลาไหลไฟฟ้า นอกจากนี้คุณสมบัติของกระแสไฟฟ้ายังสามารถทำหน้าที่เป็นเรดาร์ตรวจจับสภาพแวดล้อมโดยรอบด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ เพื่อการนำทาง ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า การปล่อยกระแสไฟฟ้าของปลาไหล เพื่อการหาอาหารและการมีชีวิตอยู่รอดจากสิ่งอันตรายต่างๆ
การปล่อยกระแสไฟฟ้า
ก่อนเกิดการปล่อยกระแสไฟฟ้า ปลาไหลไฟฟ้ามักจะงอตัวเป็นรูปตัว U เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลจากบริเวณสู่บริเวณหางอย่างรวดเร็วและมีความรุนแรงของกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ความอันตรายต่อปลาไหลไฟฟ้า
การปล่อยกระแสไฟฟ้าไม่เป็นอันตรายต่อปลาไหลเนื่องจากโดยปกติกระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวกไปสู่ขั้วลบและบริเวณหัวและหางของปลาไหลเป็นขั้วบวกและขั้วลบ ดังนั้นจึงไม่เป็นอันตรายและขณะเกิดการไหลของกระแสไฟฟ้า มีการกระจายตัวของกระแสไฟฟ้าสู่บริเวณน้ำโดยรอบ จึงช่วยลดความรุนแรงของกระแสไฟฟ้าได้ ยกเว้นกรณีหัวและหางของปลาไหลไฟฟ้าอยู่ใกล้กัน จะเกิดอันตรายต่อปลาไหลไฟฟ้าเช่นกัน
HOTLINE-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
ผู้เขียน เกตน์สิรี รัตนแก้วมณี
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ