หน่วยวัดปริมาณทางไฟฟ้า

แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage) คือ แรงเคลื่อนตัวระหว่างประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบ เพื่อให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีการไหลผ่านตัวต้านทานทางไฟฟ้า แสดงค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้า หรือ ค่าความเข้มของแหล่งจ่ายไฟฟ้า มีหน่วยวัดเป็นโวลต์ (V) ตั้งแต่ 1 มิลลิโวลต์ (mV) – 1 กิโลโวลต์ (kV)

กระแสไฟฟ้า (Current) คือ การไหลของอิเล็กตรอนระหว่าง 2 อะตอม ทั้งประจุขั้วบวกและขั้วลบ ในระยะห่างประมาณ 1 เมตร แสดงปริมาณของประจุไฟฟ้าต่อวินาที มีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ (A) ตั้งแต่ 1 มิลลิแอมแปร์ (mA) – 1 แอมแปร์ (A) ทั้งนี้กระแสไฟฟ้า แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) มีการไหลของกระแสไฟฟ้าทางเดียว เช่น ถ่านไฟฉาย และไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) มีการไหลของกระแสไฟฟ้าไปและกลับสลับกัน

ความต้านทานไฟฟ้า (Resistance) คือ ตัวต้านทานของการไหลกระแสไฟฟ้า โดยมีหลักการ คือ ต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้ามากเป็น

กระแสไฟฟ้าน้อย มีหน่วยวัดเป็นโอห์ม (ohm) ตั้งแต่ 1,000 โอห์ม (W) – 1,000 กิโลโอห์ม (kW) โดยความต้านทานไฟฟ้า 1 โอห์ม คือ การต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหลือเพียง 1 วัตต์

กำลังไฟฟ้า (Electric Power) คือ อัตราการทำงานของไฟฟ้าใน 1 ช่วงระยะเวลา มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ (W) ตั้งแต่ 1,000 มิลลิวัตต์ (mW) – 1 เมกะวัตต์ (MW)

พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy) คือ กำลังไฟฟ้าที่ใช้งาน มีหน่วยวัดเป็นยูนิต หรือ วัตต์/ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวัดพลังงานไฟฟ้าดังกล่าว คือ มิเตอร์ กิโลวัตต์อาร์มิเตอร์ (KWh Meter) ตั้งแต่ 1,000 วัตต์/ชั่วโมง หรือ 1 ยูนิต ซึ่งพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวจะนำมาคำนวณเป็นค่าไฟฟ้าต่อไป

ความถี่ (Frequency) คือ การแสดงจำนวนรอบการทำงานของไฟฟ้ากระแสสลับในระยะเวลา 1 วินาที มีหน่วยเป็น Hertz (Hz) 1 Hz คือ 1 รอบ/วินาที

รอบ (Cycle) คือ รอบการเปลี่ยนแปลงเมื่อครบ 360 องศา

แรงม้า (Horse Power) คือ หน่วยสำหรับวัดอัตราการทำงาน โดย 1 แรงม้า เทียบเท่ากับ 746 วัตต์

ความจุไฟฟ้า (Farad) คือ การแสดงค่าความจุทางไฟฟ้า ของตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือ คาปาซิเตอร์
ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า มีหน่วยวัดเป็นเฮนรี่

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน เกตน์สิรี รัตนแก้วมณี

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น