ความเป็นมาของวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า

ความเป็นมาของวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า

อย่างที่ทราบกันดีว่าช่างไฟดอทคอมคือผู้ให้บริการงานระบบไฟฟ้ากำลัง และเมื่อกล่าวถึงระบบไฟฟ้ากำลัง ก็ต้องขอเท้าความไปยังยุคแรกเริ่มของระบบไฟฟ้ากำลังที่มีทั้งระบบไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current: DC) และระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current: AC) ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่ปฏิวัติองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าให้แก่ผู้คนในยุคนั้นอยู่ไม่น้อย ทั้งนี้ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากผลงานของบรรดาเหล่านักวิทยาศาสตร์หลายท่าน ในยุคถัดมาก็เป็นอีกครั้งกับการปฏิวัติองค์ความรู้ทางด้านการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าโดยนักเคมีไฟฟ้าชาวอังกฤษ ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) ซึ่งเนื้อหาสาระมีใจความสำคัญว่าอำนาจทางไฟฟ้าและแม่เหล็กนั้นสามารถเกิดการเปลี่ยนรูปและสลับไปมาได้ จนมีการนิยามว่าแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic) 

ฟาราเดย์ฉายแววความสนใจต่อองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์ความรู้ทางด้านไฟฟ้าตั้งแต่ยังเยาว์วัย แม้ในที่สุดฟาราเดย์จะมิได้มีการศึกษาในระดับที่สูงมากนัก แต่ด้วยความที่ฟาราเดย์เดิมทีนั้นเป็นผู้ที่มุ่งมั่นฝักใฝ่ที่จะเรียนรู้จึงได้รับเลือกให้เป็นผู้ช่วยของเซอร์ฮัมฟรี เดวี (Sir Humphry Davy) นักเคมี ชาวอังกฤษ ในระหว่างนั้นเขาได้มีโอกาสทำความรู้จักกับนักวิทยาศาสตร์คนแถวหน้าอยู่หลายท่าน จากนั้นฟาราเดย์ก็อาศัยช่วงนี้ฝึกฝนทักษะและพัฒนาตนเองจนสั่งสมผลงานและมีชื่อเสียงไม่แพ้นักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น ๆ ต่อมาเขาได้สนับสนุนให้ เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell) นักฟิสิกส์ ชาวสกอตต์แลนด์ ได้ทำการพัฒนาทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าอันโด่งดังและประสบความสำเร็จ ทั้งยังกลายเป็นทฤษฎีที่สร้างผลกระทบอย่างสูงการพัฒนาวิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้านับจากนั้นเป็นต่อมา

ไม่นานนัก โจเซฟ เฮนรี (Joseph Henry) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันกลายเป็นอีกหนึ่งท่านที่มีการนำแม่เหล็กไฟฟ้ามาศึกษาต่อ ตลอดจนค้นพบปรากฏการณ์การเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า ต่อมาผลงานของเฮนรีก็ทำให้ชาวอเมริกันท่านนี้ได้รับการเชิดชูเกียรติจากคนในแวดวงและสถาปนาชื่อหน่วยของตัวนำไฟฟ้าว่า “เฮนรี” ดังที่ทุกคนคุ้นเคยกันในตำราเรียน 

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน ธีรรินทร์ เกิดอยู่

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น