ผลกระทบจากขยะอิเล็กทรอนิกส์
E-Waste (ขยะอิเล็กทรอนิกส์) คือ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายตามกระบวนทางธรรมชาติ เช่น โทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เป็นต้น ซึ่งไม่มีการใช้งานและปล่อยทิ้งสู่พื้นที่ภายนอกอย่างไม่ถูกต้องตามวิธีการ เช่น การทิ้งร่วมกับขยะทั่วไปการทิ้งในพื้นที่สาธารณะ หรือการทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ (Methylated Mercury) เป็นต้น ดังนั้น ควรมีการแยกประเภทก่อนการทิ้งทุกครั้ง หรือการส่งมอบให้ผู้ที่สามารถกำจัดขยะดังกล่าวอย่างถูกต้องตามวิธีการ
ส่วนประกอบ / สารเคมีจากขยะอิเล็กทรอนิกส์
- ตะกั่ว สามารถพบในบริเวณแผงควบคุม หลอดภาพรังสีแคโทด แบตเตอรี่
- แคดเมียม สามารถพบในบริเวณตัวต้านทาน แผงควบคุม หลอดภาพรังสีแคโทดจอภาพ
- ปรอท สามารถพบในบริเวณตัวตัดความร้อน จอภาพ สวิตช์
- โครเนียมเฮกซาวาแลนท์ สามารถพบในบริเวณแผ่นโลหะเคลือบด้วยสังกะสี
- เบริลเลียม สามารถพบในบริเวณแผงควบคุม แผงวงจร
- สารหนู สามารถพบในบริเวณแผงควบคุม แผงวงจร
- แบเรียม สามารถพบในบริเวณหลอดภาพรังสีแคโทด
- โบรมีน สามารถพบในบริเวณแผงควบคุม แผงวงจร กล่องบรรจุ
- ทองแดง
- ทองคำขาว
ผลกระทบ
- การรั่วไหลของโลหะหนัก หรือสารเคมีจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ อาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น การแพร่กระจายของสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำ , การสัมผัสสารเคมีโดยตรง , การสูดดมสารเคมีดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายจากการเผาไหม้ขยะดังกล่าว อีกทั้งส่งผลต่อการเกิดภาวะก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน
- การรั่วไหลของโลหะหนัก หรือสารเคมีจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย เช่น ไขสันหลัง ระบบประสาทส่วนกลางและการทำงานของสมอง ระบบไหลเวียนเลือด ระบบต่อมไร้ท่อ ต่อมไทรอยด์ ระบบการหายใจ ระบบการย่อยอาหาร กล้ามเนื้อหรืออวัยวะภายใน คือ ไต , ตับ , ม้าม , ปอด , หัวใจ เป็นต้น อีกทั้งส่งผลต่อพันธุกรรมและการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- การรั่วไหลของโลหะหนัก หรือสารเคมีจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ อาจส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคต่างๆ หรืออาการไม่พึงประสงค์ เช่น โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง ปวดหัว อาเจียน ท้องเสีย
HOTLINE-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
ผู้เขียน เกตน์สิรี รัตนแก้วมณี
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ