ทําไมหลอดไฟ LED ถึงขาดบ่อย?
สาเหตุที่ว่าทําไมหลอดไฟ LED (Light Emitting Diode) ถึงขาดบ่อย
- มีแรงดันไฟมากจนเกินไป หรือ ไฟเกิดการกระชากบ่อยครั้ง ส่งผลให้ Driver LED เกิดความเสียหายได้
- ไม่มีการติดตั้งการอุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟมากจนเกินไป (Surge Protection)
- มีการติดตั้งหลอดไฟ LED บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง หรือ การเลือกใช้งานหลอดไฟไม่เหมาะสมกับพื้นที่ที่ใช้งาน
- หลอดไฟสั่น หรือ เกิดเป็นไฟกะพริบตลอดเวลา ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ บัลลาสต์เสีย, หลอดไฟที่ซื้อมาใหม่ อาจต้องรอสักพัก จะสามารถใช้งานได้ตามปกติ, แรงดันไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งานหรือมีแรงดันไฟฟ้าน้อยเกินไป ควรเพิ่มขนาดหม้อแปลงไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน
- ต้องใช้เวลานานกว่าปกติ หลอดไฟจึงจะสว่าง ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ สตาร์ทเตอร์เสื่อม ควรเปลี่ยนสตาร์ทเตอร์ตัวใหม่, หากบริเวณขั้วหลอดไฟเป็นสีดำ ควรเปลี่ยนหลอดไฟใหม่
- เกิดเสียงดัง หลังจากเปิดใช้งานหลอดไฟที่ไม่ได้ใช้งานมาเป็นเวลานาน โดยปกติอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อให้เสียงดังหายไป หากเสียงยังคงดังอยู่ ควรเปลี่ยนบัลลาสต์ตัวใหม่ หรือ บัลลาสต์อาจจะหลวม
- หากบริเวณขั้วหลอดไฟเกิดสีดำ และเป็นหลอดไฟที่มีอายุการใช้งานมานาน ควรเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ หากเป็นหลอดไฟใหม่ ควรเปลี่ยนบัลลาสต์ อาจจะเกิดจากการลัดวงจรของบัลลาสต์
- หากบริเวณขั้วหลอดไฟเกิดสีดำเร็วกว่าปกติ และตรวจสอบพบว่า บัลลาสต์จ่ายไฟมีปัญหา ควรเปลี่ยนบัลลาสต์ตัวใหม่ หากตรวจสอบพบว่า หลอดไฟเสีย ควรเปลี่ยนอุปกรณ์หลอดไฟใหม่
วิธีการตรวจสอบหลอดไฟ
- สังเกตบริเวณขั้วของหลอดไฟ หากขั้วหลอดไฟไม่มีสีดำ ให้ลองหมุนหลอดไฟใหม่อีกครั้ง เพราะหลอดไฟอาจจะหลวม
- ทดสอบการทำงานของสตาร์ทเตอร์ โดยการถอดออกและใช้ร่วมหลอดไฟชุดอื่น หากสามารถใช้งานได้ปกติ สามารถนำกลับมาใช้งานกับหลอดไฟชุดเดิมได้ หากใช้งานไม่ได้ ให้เปลี่ยนสตาร์ทเตอร์ตัวใหม่
- นำไขควงแตะบริเวณขั้วบัลลาสต์ เพื่อวัดไฟทั้ง 2 ขั้ว หากแสดงไฟเป็นปกติ คือ บัลลาสต์ใช้งานได้ตามปกติ หากไม่แสดงไฟ ให้เปลี่ยนบัลลาสต์ตัวใหม่
2 ประเภทของหลอดไฟที่ใช้งานกันทั่วไป
- หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) หรือหลอดนีออน มีให้เลือกใช้ทั้งหลอดยาว หรือหลอดทรงโดนัท ซึ่งใช้งานร่วมกับโคมไฟปิดทับ
- หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (Compact Fluorescent) หลอดประเภทนี้ใช้ไฟน้อย เนื่องด้วยขนาดเล็กของหลอด แต่สามารถให้แสงได้มาก เช่น หลอดตะเกียบ หลอดเกลียว หลอดทอร์นาโด หลอดไส้ เหมาะสำหรับบริเวณที่ใช้ไฟเป็นเวลานาน และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดประเภทฟลูออเรสเซนต์ ถึง 8 เท่า
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหลอดไฟ LED
- หลอดไฟ LED คือ อุปกรณ์ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำ “ไดโอดเปล่งแสง”
- ใช้พลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC+-) เพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับ Chip LED ซึ่งทำหน้าที่ให้แสงสว่าง และ Chip LED จะทำงานด้วยกัน 2 ตัว คือ Anode และ Cathode ทำหน้าที่รับและส่งกระแสไฟฟ้าขั้งบวกและขั้วลบ จนกระทั่งเกิดเป็นแสงสว่าง โดย Chip LED ที่ได้รับความนิยมในการเลือกใช้งาน มี 2 ชนิด ดังต่อไปนี้
2.1) Chip LED On Board (COB) มีขนาดใหญ่ สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ มีอุณหภูมิเริ่มตั้งแต่ -40 องศาเซลเซียส ถึง 85 องศาเซลเซียส แต่อาจรองรับอุณหภูมิได้สูงสุด 110 องศาเซลเซียสในบางยี่ห้อ มีแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 28 – 54 VDC หรือ 90 – 100 VDC เหมาะสำหรับการใช้งาน High Bay, Flood Light, Street Light, โคมไฟที่ใช้กำลังวัตต์สูง เป็นต้น และสามารถต่อขนาน เพื่อใช้งานร่วมกับ Output ของ Driver ได้โดยตรง
2.2) Chip LED Surface Mounted Diode มีขนาดเล็กกว่า Chip LED On Board เหมาะสำหรับการใช้งานร่วมกับโคมไฟตั้งแต่ขนาดเล็กถึงโคมไฟขนาดใหญ่ เช่น T8 Light, Bulb Light, Panel Light, Down Light, Street Light, Flood Light, High Bay, Area Light เป็นต้น มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับ Chip LED On Board แต่สามารถทนอุณหภูทิได้สูงสุด 135 องศาเซลเซียส และมีแรงดันไฟฟ้า 3 VDC สำหรับการใช้งานต้องต่อวงจรอนุกรม เพื่อช่วยลดแรงดันไฟฟ้า หากใช้งาน Chip LED เป็นจำนวนมากต้องต่อวงจรอนุกรมและวงจรขนาน ซึ่งการวงจรอนุกรม หากเกิดความเสียหายของ Chip LED เพียงตัว จะส่งผลให้ Chip LED ใช้งานไม่ได้ด้วยเช่นกัน
- ขณะเกิดการจ่ายพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC+-) ระหว่าง Chip LED จะเกิดความร้อนและมีอุณหภูมิสูง ส่งผลให้ Chip LED เกิดความเสียหายได้ แต่มีตัวช่วยลดความร้อน คือ แผ่นอลูมิเนียม และช่วยระบายความร้อนได้
HOTLINE-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
ผู้เขียน เกตน์สิรี รัตนแก้วมณี
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ