สเปคหม้อแปลงไฟฟ้า มีอะไรบ้าง?
หม้อแปลงไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการแปลงพลังงานของไฟฟ้าจากวงจรหนึ่ง ให้พลังงานไฟฟ้าของอีกวงจรหนึ่งมีความถี่ที่เท่ากัน โดยอาศัยหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า ที่จะทำการแปลงพลังงานไฟฟ้าด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่ทำหน้าที่ในการเพิ่มหรือลดแรงดันไฟฟ้าภายในวงจร
หลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า
จากกฎของฟาราเดย์ (Faraday’s Law) ได้กล่าวเอาไว้ว่า เมื่อขดลวดได้รับแรงเคลื่อนจากไฟฟ้ากระแสสลับ จะทำให้ขดลวดนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงขแงเส้นแรงแม่เหล็ก ตามขนาดรูปคลื่นของไฟฟ้ากระแสสลับ และทำให้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้นที่ขดลวดนี้
โดยขดลวดดังกล่าวจะประกอบด้วยไปขดลวดจำนวน 2 ขด ซึ่งก็คือ ขดปฐมภูมิ และขดทุติยภูมิ พันอยู่รอบแกนเหล็ก โดยขดลวดทั้ง 2 ชนิดนี้จะไม่ได้ต่อกันโดยตรงทางไฟฟ้า แต่จะถูกกั้นให้ห่างกันด้วยฉนวน เพื่อให้แรงดันไฟฟ้าสามารถไหลผ่านขดลดปฐมภูมิ ทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็ก และจะถูกส่งไปยังขดลวดทุติยภูมิโดยผ่านแกนเหล็ก ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้นมาที่ขดลวดทุติยภูมิ สำหรับอัตราส่วนระหว่างแรงดันไฟฟ้าที่ขดลวดปฐมภูมิเทียมกับแรงดันไฟฟ้าที่เกิดที่ขดลวดทุติยภูมินั้น จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนจำนวนรอบที่พันของขดลวดทั้งสอง
สเปคหม้อแปลงไฟฟ้า มีด้วยกันหลัก ๆ ดังนี้
- หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการจ่าย และแปลงกำลังไฟฟ้าที่ไม่สูงมากของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทำงานโดยการถ่ายพลังงานไฟฟ้าจากขดลวดปฐมภูมิไปสร้างเส้นแรงแม่เหล็ก สลับขั้นไปมาจนเกิดการเหนี่ยวนำของแรงดันไฟฟ้าขึ้นที่ขดลวดทุติยภูมิ
- หม้อแปลงกำลัง
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจ่ายกำลังไฟฟ้า และทำการแปลงแรงดันของไฟฟ้าให้เหมาะสมกับระบบไฟฟ้าต่าง ๆ มีหลักการทำงานโดยการถ่ายพลังงานไฟฟ้าจากขดลวดปฐมภูมิ ไปสร้างเส้นแรงแม่เหล็ก สลับขั้นไปมาจนเกิดเป็นการเหนี่ยวนำแรงดันไฟฟ้าที่ขดลวดทุติยภูมิ จึงทำให้เกิดเป็นการส่งถ่ายแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าออกมานั่นเอง
- หม้อแปลงไฟฟ้าเฟสเดียว
เป็นหม้อแปลงที่ประกอบไปด้วย ขดลวดปฐมภูมิ และขดลวดทุติยภูมิ อย่างละหนึ่งขดลวด โดยทั่วไปจะนิยมนำไปใช้ในระบบพลังงานไฟฟ้าเฟสเดียว ซึ่งหม้อแปลงไฟฟ้าเฟสเดียวนิยมนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันต่ำ
- หม้อแปลงไฟฟ้าสามเฟส
เป็นหม้อแปลงที่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในระบบพลังงานไฟฟ้า 3 เฟส ผ่านการพันหม้อแปลงของขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิ 3 เฟสเอาไว้ในแกนเหล็กเดียวกัน โดยมีการเชื่อมต่อ 2 แบบ คือ แบบ Delta Connection และแบบ Wye or Star Connection ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หม้อแปลงไฟฟ้าสามเฟส มักใช้กับระบบไฟฟ้าแรงดันสูง
การต่อหม้อแปลงกับระบบไฟฟ้า 3 เฟส
การต่อหม้อแปลงกับระบบไฟฟ้า 3 เฟส มีการเชื่อมต่อ 2 แบบ ตามที่กล่าวมาข้างต้น คือ แบบวายหรือสตาร์ (Wye or Star Connection) และแบบเดลต้า (Delta Connection)
- การต่อแบบเดลต้า (Delta Connection)
ขดลวดจะต่อเข้าด้วยกันเป็นแบบอนุกรมวงจรปิด โดยต่อขั้วด้านปลายของหม้อแปลงตัวที่ 1 เข้ากับขั้วด้านต้นของหม้อแปลงตัวที่ 2 ต่อขั้วด้านปลายของหม้อแปลงตัวที่ 2 เข้ากับขั้วด้านต้นของหม้อแปลงตัวที่ 3 และต่อขั้วด้านปลายของหม้อแปลงตัวที่ 3 เข้ากับขั้วด้านต้นของหม้อแปลงตัวที่ 1 และจุดต่อร่วมทั้งสามจะต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟ
- การต่อแบบวายหรือสตาร์ (Wye or Star Connection)
ขดลวดจะต่อเข้าด้วยกันเป็นตัววาย โดยการนำปลายของขดลวดตัวที่ 1 2 และ 3 มาต่อเข้าด้วยกัน ส่วนด้านต้นของขดลวดตัวที่ 1 2 และ 3 ของหม้อแปลง ในกรณีที่เป็นขดปฐมภูมิจะต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟ แต่ถ้าเป็นขดลวดทุติยภูมิจะต่อเข้ากับโหลด
HOTLINE-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
ผู้เขียน วรดล ขาวคง
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ