วิธีการทำงานของรถไฟฟ้า
หลักการทำงานของรถไฟฟ้าอย่าง BTS หรือ MRT หน้าที่งานของอุปกรณ์ในระบบ คือ การป้อนกระแสไฟฟ้าไปสู่ตัวรถไฟฟ้า BTS เป็นแบบรางที่ 3 ที่แรงดันไฟฟ้า 750 VDC เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ในขบวนรถไฟฟ้า เพื่อทำงานในส่วนต่าง ๆ
- ชุดเคอร์เรนต์ คือ ตัวรับกระแสไฟฟ้า ระหว่างรถไฟฟ้ากับรางที่ 3 เพื่อจ่ายไฟฟ้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของรถไฟฟ้า
- Shop Power คือ สวิตซ์ที่มีลักษณะเหมือนใบมีและทำหน้าที่เลือกแหล่งจ่ายไฟฟ้า เพื่อป้อนให้รถไฟฟ้า BTS
- High Speed Circuit Breaker มีหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้า เมื่อเกิดการลัดวงจร
- Traction Inverter ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
- Induction Motor มีหน้าที่ขับเคลื่อนรถไฟฟ้า
- Brake Resistor ทําหน้าที่ในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากรีเจนเนอร์เรเตอร์
- Traction Control Unit มีหน้าที่ควบคุม จัดส่งกระแสไฟฟ้าไปยังส่วนควบคุมย่อยต่าง ๆ
- Load Cell Sensor ทําหน้าที่ตรวจสอบนํ้าหนักของรถ เพื่อขับเคลื่อนรถไฟฟ้า
- Door Sensor ทําหน้าที่เปิดและปิดประตูของรถไฟฟ้า
- Brake Control Unit ทําหน้าที่ควบคุมการหยุดรถไฟฟ้า
- Master Controller ทําหน้าที่ในการเลือกการควบคุมการขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ และการขับเคลื่อนรถไฟฟ้าด้วยพนักงานขับรถ
ซึ่งมีอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนรถไฟฟ้า BTS ในระบบการเดิน รางที่สามหรือรางจ่ายไฟให้รถไฟฟ้า เคอร์เรนต์หรือตัวรับไฟเข้ารถไฟฟ้า ช็อปเพาเวอร์หรือตัวเลือกรับไฟ กล่องป้องกันของอินเวอร์เตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใชัขับเคลื่อน
การทำงานของรถไฟฟ้า เป็นระบบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับรถไฟ เพื่อให้รถไฟขับเคลื่อนได้โดยไม่ต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าบนขบวนรถไฟ เพราะการจ่ายกระแสไฟฟ้า มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบให้พลังงานอื่น ๆ ของการขับเคลื่อนหัวรถจักร หลังจากนั้นพลังงานไฟฟ้าจะถูกส่งเข้าไปยังสายส่งไฟฟ้าแรงสูง แล้วกระจ่ายภายในเครือข่ายของรถไฟ เพื่อให้รถไฟขับเคลื่อน ซึ่งการใช้กระแสไฟฟ้าในการขับเคลื่อนหัวรถจักรจะสามารถดึงตู้ขนส่งสินค้าที่ความเร็วสูง ดีกว่าหัวรถจักรแบบพลังงานดีเซล
HOTLINE-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
ผู้เขียน วรัญชนก วัฒนะวงค์
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ