มาตรฐานการเปลี่ยนสีสายไฟ
ภาคบังคับมาตรฐานการเปลี่ยนสีสายไฟใหม่ของประเทศไทย มาตรฐาน มอก.11-2553 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว ดังนั้น มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนมาตรฐานและสีของสายไฟ ต้องการเปลี่ยนสีขนาดแรงดัน และชื่อของของสายให้ตรงกับมาตรฐาน IEC code และร่วมถึงประเทศที่อยู่กลุ่ม AEC ด้วย เพราะเมื่อมีกฎหมายสีของฉนวนสายไฟชนิดตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซีก็ต้องเปลี่ยน แต่ในส่วนของสายไฟประเภท CV ซึ่งเป็นฉนวนประเภท XLPE โดยที่ผู้ผลิตได้ทำการเปลี่ยนให้เอง ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับ ในเมื่อกฎหมายการผลิตสายไฟมีการเปลี่ยน ในส่วนของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ซึ่งเป็นสถาบันอิสระที่ทำมาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับด้านวิศวกรรม รวมถึงมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า เป็นมาตรฐานนี้ไม่ถือเป็นกฎหมายบังคับใช้ แต่หลาย ๆ องค์กร เช่น การไฟฟ้า MEA, PEA ร่วมทั้งกรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานต่าง ๆ หรือแม้แต่ในกฎหมายบางมาตราเกี่ยวกับ พรบ. ควบคุมอาคาร ก็ได้นำมาตรฐานนี้มาอ้างอิงและบังคับใช้
ฉะนั้น เมื่อมาตรฐานสายไฟมีการปรับปรุง ทางคณะกรรมการ วสท. จึงได้ปรับปรุงมาตรฐานใหม่ให้ตรงตามมาตรฐานกับมาตรฐานสายไฟใหม่ และปรับปรุงเกี่ยวกับขนาดกระแสของสายไฟ และรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยในการติดตั้งและการใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก จึงเป็นที่มาของการปรับปรุง มาตรฐาน วสท. ฉบับปี 2556
แล้วมีสีสายไฟใดบ้างที่ถูกปรับเปลี่ยนตามมาตรฐานสายไฟฉบับใหม่ มอก.11-2553 มีการกำหนดระบุสีของแกนสายไฟฟ้า ว่าการแสดงด้วยสีจะต้องไม่เกิน 5 แกน และต้องหลีกเลี่ยงสี ขาว และแดง ตามคำอธิบายด้านล่างนี้
- สายแกนเดี่ยว – ไม่ได้ถูกกำหนดสี
- สาย 2 แกน – สีฟ้า และ สีน้ำตาล
- สาย 3 แกน – เขียวแถบเหลือง, ฟ้า, น้ำตาล, ดำ และเทา
- สาย 4 แกน – เขียวแถบเหลือง, น้ำตาล, ดำ และเทา
- สาย 5 แกน – เขียวแทบเหลือง, ฟ้า, น้ำตาล, ดำ และ เทา
HOTLINE-061-417-5732
https://www.facebook.com/changfidotcom
Line: @changfi
ผู้เขียน ธมนณัฏฐ ดวงมณีวิวัตน์
ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ