ร่างกายคนเรากันไฟฟ้าได้เท่าไหร่?

ร่างกายคนเรากันไฟฟ้าได้เท่าไหร่? 

ในร่างกายของมนุษย์สามารถสร้างพลังงานได้มากมาย เราอาจเคยพบกับเหตุการณ์เวลาที่แตะหรือสัมผัสอะไรที่เป็นโลหะ จะรู้สึกเหมือนโดนไฟช็อต นั่นเป็นเพราะร่างกายของเราสะสมไฟฟ้าสถิตไว้มากเกินไปนั่นเอง เมื่อใดก็ตามที่เราบังเอิญไปสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าเราจะถูกกระตุก การกระตุกเกิดจากผลกระทบของการไหลของกระแสไฟฟ้าที่เข้ามาในร่างกายมนุษย์ และถ้าแรงดันไฟฟ้าที่ทำงานอยู่ในร่างกายมนุษย์มีน้อยกว่าหรืออ่อนแอกว่าไฟฟ้าที่เข้ามาปะทะ มนุษย์ก็จะทรุดตัวลง และอาจหมดสติได้ แต่ถ้าไฟฟ้านั้นถูกควบคุมให้กระแสวิ่งผ่านร่างกายลงพื้นดิน ก็จะปลอดภัยจากการกระตุกได้

ภาวะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็ง จนทำให้ร่างกายไม่สามารถสะบัดหลุดออกมาจากบริเวณเหล่านั้นได้ อีกทั้งปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายนั้นสามารถทำให้ร่างกายของผู้ที่ประสบเหตุนั้นเกิดความพิการ หรือร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าผู้ที่ประสบเหตุนั้นจะไม่ได้สัมผัสกับไฟฟ้าโดยตรงเลยก็ตาม ปกติพื้นดินจะเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีแรงดันทางไฟฟ้าเป็นศูนย์ เมื่อเราสัมผัสส่วนใดที่มีแรงดันไฟฟ้า ขณะที่ร่างกายยืนอยู่บนพื้นดิน กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านร่างกายลงดินครบวงจร ภาวะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย แยกตามลักษณะของการสัมผัสได้ 2 แบบ คือ การสัมผัสโดยตรง และการสัมผัสทางอ้อม

โดยปริมาณกระแสไฟฟ้าและผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์นั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ ดังนี้

กล้ามเนื้อกระตุกหรือหดตัว (Muscular Freezing) ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านมือและไหลออกลงสู่ดินทางมืออีกข้างหรือทางเท้า กล้ามเนื้อทรวงอกจะหดตัวมากที่สุด ปอดทำงานไม่ปกติ ทำให้หายใจติดขัด และขาดอากาศในการหายใจ

ระบบประสาทชะงักงัน (Nerve Block) ถ้ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย มีปริมาณตั้งแต่ 10 – 15 mA จะทำให้ระบบประสาทชะงักงันไปชั่วขณะ มีการกระตุกอย่างแรง การทำงานของหัวใจเป็นอัมพาตชั่วคราว

หัวใจเกิดอาการเต้นเร็ว ถี่รัว หรือเต้นกระตุก (Veuticular Fibrillation) เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายมีปริมาณมากกว่า 50 mA ขึ้นไป การเต้นของหัวใจผิดปกติ การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ต่อมาหัวใจก็จะหยุดเต้น และเสียชีวิต

หัวใจหยุดทำงานทันที (Cardiac Arrest) เกิดจากกระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลผ่านหัวใจ เช่น กระแสไฟฟ้าปริมาณ 250 mA ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหดตัวอย่างแรง และหัวใจหยุดเต้นทันที

ทำให้เกิดแผลไหม้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย กระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านเข้าไปในร่างกาย ทำให้เกิดแผลไหม้บริเวณกระแสไฟฟ้าเข้าและกระแสไฟฟ้าออก ถ้าเป็นไฟฟ้ากระแสตรงจะมีอันตรายน้อยกว่าไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) ถึง 3 เท่า ทั้ง ๆ ที่ความเข้มของไฟฟ้าเท่ากัน

เนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายถูกทำลาย เช่น เยื่อบุหลอดเลือดถูกทำลาย ก้อนเลือดจับตัวกัน เลนส์ตาขุ่นมัว ทำให้เป็นต้อกระจก เป็นต้น

อันตรายจากไฟฟ้า เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความรุนแรง และอันตรายจากไฟฟ้านั้นเสี่ยงต่อชีวิตมากจริง ๆ ซึ่งผลข้างเคียงของการปล่อยให้กระไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ไม่ว่าแรงดันจะมีขนาดเท่าใด ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายในระดับต่าง ๆ อาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต เกิดการบาดเจ็บสาหัส ไปจนถึงพิการเลยก็เป็นได้

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน มิ่งสุดา โสมะฐิติ

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *