วงจรนับ คือ การที่ผู้ออกแบบวงจรนับนำเอา FlipFlop มาเรียงต่อกันหลายตัวให้เกิดวงจร เพื่อนำมาใช้งาน โดยมีประโยชน์ในการใช้งานคือ ช่วยนับจำนวนสัญญาณของนาฬิกา หรือที่เรียกว่า คล็อก (Clock) และจำนวนสัญญาณลูกคลื่น หรือที่เรียกว่า พัลซ์ (Pulse) ที่ได้ผ่านเข้ามายังทางของอินพุต ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานเครื่องมือที่มีความเกี่ยวข้องกับเวลาได้ โดยวงจรนับนั้น นิยมนำไปประยุกต์ใช้งานในเครื่องวัดความถี่ และเครื่องวัดจำนวนรอบ
วงจรนับ หรือ Counter คือ ตัวการวงจรที่ทำหน้าที่เพื่อให้จังหวะในการทำงานกับวงจรดิจิทัล ซึ่งจะมีรูปแบบการออกแบบวงจรที่แตกต่างกันออกไป โดยจะแบ่งได้ 2 แบบ นั่นคือ วงจรนับแบบอะซิงโครนัส หรือ เป็นวงจรนับแบบไม่เข้าจังหวะ ซึ่งการออกแบบวงจรประเภทนี้ จะสามารถใช้วิธีการออกแบบของวงจรนับขึ้น – ลง และการออกแบบของการกำหนดช่วงเวลาในการนับ หรือ วงจรนับอีกแบบที่เรียกว่า วงจรนับแบบซิงโครนัส เป็นวงจรนับแบบเข้าจังหวะ วงจรนับแบบนี้ จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของวงจรนับแบบไม่เข้าจังหวะ ที่มีปัญหาในเรื่องของการหน่วงเวลา
ข้อเสียของวงจรนับ คือ หากเป็นวงจรนับแบบไม่เข้าจังหวะ จะมีปัญหาในย่านความถี่สูง เนื่องจากวงจรนับประเภทนี้ สามารถใช้ได้ดีในเฉพาะความถี่ต่ำ เพราะมีปัญหาในเรื่องของการหน่วงเวลา และวงจรนับแบบเข้าจังหวะ แม้จะมีขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาของวงนับจรแบบแรก แต่ก็มีขั้นตอนในการออกแบบที่ค่อนข้างซับซ้อนกว่ามาก เพราะโครงสร้างของวงจรที่ต้องมีการออกแบบให้ทุกวงจรนั้นทำงานพร้อม ๆ กัน วงจรนับแบบเข้าจังหวะ แม้จะเป็นที่ต้องการอย่างมาก แต่ก็ยังมีผู้นำไปใช้งานจริงค่อนข้างน้อย