Motor Control Center คืออะไร?

รู้จักตู้ควบคุมมอเตอร์กันหรือไม่ คืออะไร มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง หากไม่รู้วันนี้เราได้นำความรู้มาฝากเพื่อให้ทุกคนรู้จักถึงความหมาย หน้าที่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ Motor Control Center (MCC) หรือ ตู้ควบคุมมอเตอร์ นั่นเอง

Motor Control Center (MCC) หรือ ตู้ควบคุมมอเตอร์ คือ ตู้ควบคุมการทำงานของระบบมอเตอร์ ซึ่งภายในตู้ประกอบด้วย อุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า มักติดตั้งภายในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีมอเตอร์ควบคุมสายการผลิตแบบต่อเนื่องเป็นปริมาณมาก MCC เป็นอุปกรณ์สำคัญในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร โดยภายในตู้จะประกอบด้วย ชุดทำงานที่สั่งการไปให้มอเตอร์แต่ละตัวทำงาน การที่จะติดตั้งชุดควบคุมมอเตอร์แยกของใครของมันไว้ใกล้กับมอเตอร์ที่หน้างาน หากมอเตอร์มีปัญหา การที่จะทำการตรวจเช็คซ่อมบำรุงจะทำได้ยาก หากมอเตอร์มีปัญหาหลายตัวพร้อมกัน จะทำให้การซ่อมบำรุงยากขึ้น ทั้งต้องใช้จำนวนคนละเวลามากยิ่งขึ้น ทำให้สูญเสียเวลาการผลิต และทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐศาสตร์มาก แต่หากมีการติดตั้งตู้ MCC ไว้ที่จุดเดียวจะสามารถควบคุมการทำงานของมอเตอร์ได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงประหยัดเวลาในการซ่อมบำรุงรักษา ทำให้ควบคุมการทำงานของมอเตอร์ได้ตามความต้องการ ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวมอเตอร์ และยังสามารถป้องกันความผิดพลาดของเครื่องจักรได้ด้วย

สำหรับอุปกรณ์หลัก ๆ ภายในตู้ MCC ประกอบด้วย 

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) อุปกรณ์ป้องกันค่ากระแสไหลผ่านเกินกำหนด ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมมอเตอร์เกิดความเสียหาย

มอเตอร์เบรกเกอร์ (Moter Starter Protection) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันมอเตอร์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ

แมกเนติก คอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor) เป็นสวิตช์ใช้สำหรับการควบคุมการเปิด – ปิดของมอเตอร์ ทำหน้าที่เปิดปิดแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์

โอเวอร์โหลด รีเลย์ (Overload Relay) เป็นอุปกรณ์ควบคุมวงจรไฟฟ้า มีการป้องกันมอเตอร์ทำงานเกินกำลัง หรือ โอเวอร์โหลด กระแสโอเวอร์โหลดสามารถปรับได้ตามขนาดพิกัดกระแสสูงสุดของมอเตอร์

ไทม์เมอร์ รีเลย์ (Timer Relay) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมเวลาการทำงานของอุปกรณ์ ให้เป็นไปตามที่ต้องการ

เครื่องวัดไฟฟ้า (Meter) เป็นเครื่องวัดพื้นฐานที่ใช้ในตู้ MCC โดยทั่วไป ประกอบด้วย Volt Meter ใช้วัดแรงดันไฟฟ้าภายในวงจร, Amp Meter ใช้วัดปริมาณกระแสไฟฟ้าในวงจร, Power Meter เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า เช่น แรงดัน กระแส กำลังไฟ

อุปกรณ์ประกอบ (Accessories) เช่น เทอร์มินอล (Terminal) หรือ ขั้วต่อสาย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับต่อสายไฟ, Pilot Lamp เป็นหลอดไฟที่ไว้แสดงสถานะการทำงานของตู้ควบคุมมอเตอร์, CT (Current Transformer) ใช้วัดค่าพิกัดกระแสแต่ละเฟส เป็นต้น

ผู้เขียน :  ชญาภรณ์ ภูงามเงิน

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *