RLC คือ ตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำ และตัวเก็บประจุ ซึ่งแต่ละตัวจะมีหน้าที่และคุณสมบัติแตกต่างกัน แต่ทุกตัวจะเป็นส่วนประกอบที่อยู่ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งเราจะพบเห็นวงจรเหล่านี้ได้ทั่วไปตามอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน เช่น โทรศัพท์มือถือ พัดลม และภายในเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ ก็สามารถพบได้ ซึ่งอยู่ที่ผู้ออกแบบวงจรว่าจะนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ออกแบบอย่างไร
ซึ่งตัวต้านทานหรือ R นั้นทำหน้าที่ควบคุมการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า โดยจะทำการจำกัดระดับแรงดันไฟที่ส่งผ่านตัวต้านทาน เพื่อไปเลี้ยงวงจรต่าง ๆ โดยความต้านทานไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับวัสดุการผลิต และชนิดการใช้งานว่าจะมีความต้านทานเท่าใด หรือ ปรับเปลี่ยนค่าได้หรือไม่ได้ ต่อไปคือตัวเหนี่ยวนำหรือ L ซึ่งจะนำเส้นลวดตัวนำมาพันเป็นขดลวด ซึ่งเมื่อจ่ายไฟฟ้าเข้าไปที่ขดลวด กระแสไฟฟ้าจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น ซึ่งพบเห็นได้บ่อยในหม้อแปลงไฟ และตัวสุดท้ายตัวเก็บประจุหรือ C หรือคนทั่วไปจะรู้จักในชื่อคาปาซิเตอร์ โดยจะสามารถสะสมประจุไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าไว้ได้ ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนกับแหล่งจ่ายไฟฟ้า
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่บุคคลทั่วไปสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า RLC คืออะไรทำหน้าที่อะไร แต่หากเป็นผู้ที่ต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า หรือเป็นนักเรียน ช่างไฟฟ้า จะต้องได้ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพราะ RLC นั้นยังมีเนื้อหาอีกมากมายเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน หรือ การเรียนการสอบต่าง ๆ ซึ่งจะมีเนื้อหาที่ยากขึ้น และมีความซับซ้อนมากขึ้น แต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้อย่างแน่นอน