Capacitor Bank คืออะไร?

Capacitor Bank (คาปาซิเตอร์ แบงค์) หรือเรียกอีกอย่างว่า Cap Bank (แคปแบงค์) คือ อุปกรณ์ที่ใช้เก็บประจุไฟฟ้า โดยมันเป็นอุปกรณ์ที่มักจะถูกนำมาใช้ในกรณีที่โรงงานมีการใช้ไฟฟ้าเกินค่าที่ถูกกำหนดไว้ เช่น การใช้งานมอเตอร์พร้อมกันหลาย ๆ เครื่อง จำเป็นที่จะต้องใช้ไฟเป็นจำนวนมากในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อการดึงไฟฟ้าไปใช้งานที่เกินค่าที่การไฟฟ้าฯ ได้มีการกำหนดเอาไว้ ซึ่งถ้าหากโรงงานไหนที่ไม่มีการติดตั้ง Capacitor Bank เอาไว้ จะต้องเสียค่าปรับ โดยค่าปรับที่ว่า นั่นก็คือ ค่ากำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ (Reactive Power : var) ที่ใช้งานเกินจนต้องถูกปรับจากการไฟฟ้าฯ 

Capacitor Bank จึงถูกนำมาใช้ในงานที่มีการใช้โหลดที่มีตัวเหนี่ยวนำมาก ๆ เช่น เครื่องจักร ปั๊มน้ำ ชิลเลอร์ (Chiller) หรือ คอนเวย์เยอร์ (Conveyor) ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานของกำลังไฟฟ้าที่ค่อนข้างมาก ที่จะส่งผลให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์นั้นต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 0.85 ที่อาจจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจ่ายโหลดลดน้อยลง เนื่องจากเกิดกระเเสและเกิดความร้อนสูงภายในสายไฟ ทำให้เกิดความสูญเสียพลังงานไปในรูปแบบของความร้อนไป ที่ทำให้อาจจะต้องเสียค่าปรับให้กับการไฟฟ้าฯ เพื่อใช้ในการปรับปรุงค่ากำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ ทั้งนี้ Capacitor Bank จะต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 30% ของขนาดหม้อแปลงตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด

โดยส่วนประกอบภายในที่สำคัญของ Capacitor Bank นั้น ประกอบไปด้วย อุปกรณ์ควบคุมค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Power Factor Controller) ตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor) และอุปกรณ์ตัดต่อตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Magnetic Contractor) โดยจำนวนหรือขนาดของคาปาซิเตอร์ที่ต่อเข้ากับระบบไฟฟ้านั้นจะขึ้นอยู่กับค่ากำลังงานรีแอคทีฟที่เกิดขึ้นในระบบในขณะที่มีการทำงาน โดยอุปกรณ์อย่าง Power Factor Controller จะทำหน้าที่ในการตรวจวัดค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ของระบบ และจะทำการสั่งการให้อุปกรณ์อย่าง Magnetic Contractor (แมกเนติก คอนแทคเตอร์) ต่อหรือปลดคาปาซิเตอร์ออกจากระบบ เพื่อให้ได้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *