สายพาน มีกี่ประเภทกันนะ?

สายพาน เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญกับงานอุตสาหกรรม นิยมนำมาใช้ในการคล้องโยงเครื่องจักรต่าง ๆ ให้ทำงานไปด้วยกัน สายพานมีคุณสมบัติในการรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี อีกทั้งขณะใช้งานยังไม่มีเสียงดังรบกวนอีกด้วย จึงเหมาะสำหรับการส่งกำลังระหว่างเพลาที่อยู่ห่างกันมาก ๆ หรือใช้เป็นส่วนรองรับวัสดุสิ่งของต่าง ๆ ทำให้วัสดุที่อยู่บนสายพานนั้นเคลื่อนที่ตามสายพาน

โดยในปัจจุบัน สายพานมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  1. สายพานแบน (Flat Belt)

เป็นสายพานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาประเภทของสายพานทั้งหมด ที่มีลักษณะเป็นหน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้ในการส่งถ่ายกำลังจากพูลเลย์ (Pulley) ของเพลาขับ ไปยังพูลเลย์ของเพลาตาม ซึ่งเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เราต้องการให้เกิดการทำงาน เช่น ปั๊มน้ำ หรือ พัดลม 

สายพานแบน ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 3 ประเภท ดังนี้

1.1) Light Drives 

เป็นสายพานที่ใช้กับงานเบา โดยความเร็วของสายพาน ขณะที่มีการใช้งานนั้นต้องไม่เกิน 10 m/s

1.2) Medium Drives 

เป็นสายพานที่ใช้กับงานหนักปานกลาง โดยความเร็วของสายพาน ขณะที่มีการใช้งานนั้นต้องอยู่ในระหว่าง 10 – 22 m/s

1.3) Heavy Drives 

เป็นสายพานที่ใช้กับงานหนัก โดยความเร็วของสายพาน ขณะที่มีการใช้งานนั้นต้องสูงกว่า 22 m/s

  1. สายพานวี (V – Belt)

เป็นสายพานที่นิยมนำมาใช้กับเครื่องจักรกลตามโรงงานต่าง ๆ เป็นสายพานที่สามารถส่งกำลังไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ที่ต้องการได้ แต่ไม่สามารถส่งกำลังแบบไขว้เหมือนกับสายพานแบนได้ ทำให้สายพานประเภทนี้มักจะถูกนำมาใช้เป็นสายพานของเครื่องกลึง หรือ สายพานของรถไถนาเดินตาม เป็นต้น

สายพานวี สามารถแบ่งออกได้อีก 4 ประเภท ดังนี้

2.1) สายพานวีปกติ

เป็นสายพานที่นิยมนำมาใช้กับงานทั่ว ๆ ไป เช่น เครื่องจักรกลธรรมดา ที่ใช้ความเร็วรอบไม่มากนัก เป็นสายพานที่ทำมาจากแผ่นยางสลับกับผ้าใบเป็นชั้น ๆ

2.2) สายพานวีแหลม

เป็นสายพานที่มีความสามารถในการกระจายแรงตามแนวรัศมีไปยังแผ่นปิดที่อยู่ด้านบนของสายพานอย่างสม่ำเสมอตลอดหน้ากว้าง จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ควบคู่กับแกนเพลาที่มีระยะห่างมาก ๆ และรับแรงสูง

2.3) สายพานร่องวีร่วม

เป็นสายพานที่ในปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมันจะมีลักษณะเป็นลิ่มหลายลิ่มมารวมกันในเส้นเดียว จึงทำให้สายพานประเภทนี้มีแผ่นปิดยางสังเคราะห์ จึงเหมาะสำหรับงานที่มีการถ่ายเทโมเมนต์หมุนที่ไม่สม่ำเสมอ หรือ ระยะห่างของแกนเพลามีค่ามาก ๆ

2.4) สายพานหลายรูปพรรณ 

เป็นสายพานที่ผิวชั้นบนจะมีพลาสติกหุ้มอยู่โดยรอบ ทำหน้าที่ในการรับแรงดึง ส่วนเนื้อสายพานประเภทนี้จะเป็นแบบสายพานร่องวี ที่มีลักษณะเป็นสายพานที่เรียงต่อกัน ซึ่งจะทำให้สามารถสวมสัมผัสผิวของร่องล้อพลูเลย์ได้อย่างแนบสนิท สายพานประเภทนี้จึงเหมาะกับงานที่มีอัตราทดสูงมาก ๆ

2.5) สายพานวีหน้ากว้าง

เป็นสายพานที่มีรูปร่างที่พิเศษไม่เหมือนสายพานประเภทอื่น ๆ นิยมนำมาใช้ในการส่งกำลังที่มีการปรับความเร็วรอบตามความต้องการ

  1. สายพานกลม (Round Belt)

เป็นสายพานที่มีหน้าตัดเป็นรูปวงกลม เป็นสายพานที่มีแรงในการส่งกำลังที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก อีกทั้งยังสามารถปรับตั้งทิศทางการหมุนได้หลายทิศทางตามความต้องการของผู้ใช้งาน สายพานประเภทนี้ผลิตมาจากพลาสติกโพลียูรีเทน จึงทำให้มีคุณสมบัติในการต้านทานน้ำ น้ำมัน จาระบี และน้ำมันเบนซิน อีกทั้งสายพานประเภทนี้ยังไม่มีเสียงดังรบกวน ในขณะที่กำลังทำงานอีกด้วย

  1. สายพานไทม์มิ่ง (Timing Belt)

เป็นสายพานที่มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ที่หุ้มด้วยเส้นใยไนลอน เพื่อลดการสึกหรอ มีฟันเฟืองล้อมรอบตลอดความยาวของสายพาน แกนรับแรงทำมาจากลวดเหล็กกล้า หรือ ทำมาจากลวดไฟเบอร์ฝังอยู่ในยางเทียม ซึ่งก็คือ ฟันของสายพาน จึงทำให้สายพานประเภทนี้มีความสามารถในการงอตัวได้ดี นิยมนำมาใช้กับพูลเลย์ล้อเล็ก ๆ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร เนื่องจากร่องสายพานนั้นมีขนาดเดียวกับร่องพูลเลย์ ทำให้เมื่อเกิดการขบกัน จะไม่ทำให้เกิดการลื่นไถลขณะส่งกำลัง สามารถนำสายพานประเภทนี้มาใช้เป็นตัวส่งกำลังงานในเครื่องยนต์ได้ โดยเป็นตัวขับเฟืองเพลา ข้อเหวี่ยง และเพลาราวลิ้น อีกทั้งสายพานประเภทนี้ยังไม่มีเสียงดังรบกวนขณะทำงานอีกด้วย

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *