ทรานซิสเตอร์ คืออะไร?

ทรานซิสเตอร์ (Transistor) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมการไหลหรือปิดกั้นไม่ให้กระแสหรือแรงดันไฟฟ้าไหลผ่านไปได้ ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้งานเป็นวงจรขยายในวิทยุและ โทรทัศน์ และนิยมนำมาใช้เป็นสวิตช์ในการเปิด – ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ วิทยุ เครื่องเล่นซีดี ฯลฯ

ทรานซิสเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำสามทางนำมาต่อชนกัน โดยใช้สารกึ่งตัวนำชนิด P และชนิด N จึงทำให้ลักษณะโครงสร้างของทรานซิสเตอร์นั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ 

  1. ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP 

สารกึ่งตัวนำของทรานซิสเตอร์ประเภทนี้ จะประกอบไปด้วย สารชนิด P 2 ตัว และชนิด N 1 ตัวที่วางตัวสลับกัน ในลักษณะ Positive – Negative – Positive

  1. ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN

สารกึ่งตัวนำของทรานซิสเตอร์ประเภทนี้ จะประกอบด้วย สารชนิด N 2 ตัว และชนิด P 1 ตัว โดยวางตัวสลับกัน ในลักษณะ Negative – Positive – Negative 

โดยทั้ง 2 ชนิดจะมีขาต่อใช้งานอยู่สามขา คือ ขาเบส (Base) อิมิตเตอร์ (Emitter) และคอลเลกเตอร์ (Collector)

หลักการทำงานของทรานซิสเตอร์ก็คือ มันมีหน้าที่ในการควบคุมทิศทางและปริมาณของกระแสไฟฟ้า ผ่านการใช้กระแสไฟฟ้าในระดับน้อย ๆ ในการควบคุมกระแสไฟฟ้าในระดับมาก ๆ ถ้าจะให้อธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ เลยก็คือ เมื่อมีปริมาณของกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้ามาเพียงเล็กน้อยที่ขาเบส มันก็จะสามารถควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มากกว่าหลายเท่าตัวของขาคอลเลกเตอร์และขาอิมิตเตอร์ได้ เพราะว่าทรานซิสเตอร์นั้นมีค่ากำลังขยาย ที่เรียกว่า Current Gain หรือ HFE หรือ β ในตัวของมันเองนั่นเอง

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *