เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า คืออะไร? มีกี่ประเภท?

กระแสไฟฟ้า (Electric Current) เป็นการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องของอิเล็กตรอนจากอะตอมหนึ่งไปสู่อีกอะตอมหนึ่ง จากวัตถุที่มีประจุลบไปยังวัตถุที่มีประจุบวก ใช้สัญลักษณ์แทนกระแสไฟฟ้า คือ “I” และมีหน่วยวัดเป็น แอมแปร์ (Ampere) สัญลักษณ์ตัวย่อของหน่วย คือ A

โดยในปัจจุบันระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ในทางกลับกัน กระแสไฟฟ้าที่ได้มาจากระบบโซล่าเซลล์นั้นจะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) พลังงานที่ได้จึงสามารถใช้ได้แค่ในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำงานผ่านกระแสตรงเท่านั้น เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ๆ ในการเปลี่ยนแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)

วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จัก เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า กัน

เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบโซล่าเซลล์ เนื่องจากเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้านั้นมีหน้าที่ในการแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) 

โดยประเภทของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้านั้น มีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 5 ประเภท ดังนี้

  1. Grid Tile Inverter (กริดไทน์อินเวอร์เตอร์) หรือ On Grid Inverter (ออนกริดอินเวอร์เตอร์)

มีหน้าที่ในการแปลงพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ ให้กลายมาเป็นไฟฟ้าที่สามารถทำการจ่ายเพื่อนำมาใช้ในตัวบ้านหรืออาคารได้ โดยเชื่อมเข้ากับไฟของการไฟฟ้า หากช่วงไหนที่มีแดดอ่อนหรือไม่มีแสงแดดเลย อินเวอร์เตอร์จะเปลี่ยนการจ่ายพลังงานจากแผงโซล่าเซลล์ไปเป็นไฟจากการไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ นอกจากกริดไทน์อินเวอร์เตอร์จะมีความสมารถในการแปลงไฟแล้ว มันยังมีหน้าที่ในการรักษาระดับแรงดันไฟให้มีความเสถียรภาพอีกเช่นกัน

  1. ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) 

เป็นอินเวอร์เตอร์ขนาดเล็ก ที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งระบบออนกริดและออฟกริด หลักการทำงานก็จะคล้าย ๆ กับกริดไทน์อินเวอร์เตอร์ แต่จะแตกต่างกันในส่วนของการติดตั้ง โดยไมโครอินเวอร์เตอร์จะต้องติดตั้งกับแผงโซล่าเซลล์ 1 ตัวต่อ 1 แผง และเอาท์พุท (Output) ที่ออกมาจากอินเวอร์เตอร์ประเภทนี้จะเป็นไฟฟ้าแบบกระแสสลับ (AC) ที่สามารถนำไปใช้งานได้เลยทันที

  1. เพียวไซน์เวฟอินเวอร์เตอร์ (Pure Sine Wave Inverter)

เป็นอินเวอร์เตอร์ที่ช่วยแปลงกระแสไฟจากแบตเตอรี่ให้สามารถนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ อีกทั้งยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ว่าอยู่ห่างไกลจากบ้าน โดยการใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งจ่ายไฟแทนนั่นเอง

  1. โมดิฟายซายเวฟ (Modify Sine Wave)

มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกับแบบเพียวไซน์เวฟอินเวอร์เตอร์ แต่อุปกรณ์ของเครื่องมือจะมีความเก่ากว่า อีกทั้งคุณภาพในการทำงานก็จะน้อยกว่าแบบเพียวไซน์เวฟอินเวอร์เตอร์อีกด้วย

  1. ไฮบริดอินเวอร์เตอร์ (Hybrid Inverter) 

เป็นอินเวอร์เตอร์ที่เอาคุณสมบัติของระบบออนกริดและออฟกริดของอินเวอร์เตอร์ทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้นมารวมกัน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้น

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *