เครื่องมือวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้า คืออะไร? มีอะไรบ้าง?

เครื่องมือในการวัดไฟฟ้า เป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำงานไฟฟ้า เนื่องจากในเวลาทำงาน เราไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าไฟฟ้าในจุดที่เราต้องการที่จะทำนั้น มีค่าความแรงของไฟฟ้ามากน้อยเพียงใด การที่เรามีเครื่องมือที่ใช้วัดไฟฟ้าเตรียมพร้อมเอาไว้เสมอ ก็จะช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว อีกทั้งยังมีความปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วย

ซึ่งเครื่องมือวัดไฟฟ้านั้น ถูกผลิตออกมาหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึง เครื่องมือที่ใช้ในการวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้า กัน

แต่ก่อนที่เราจะไปรู้จักเครื่องมือที่ใช้ในการวัดไฟฟ้า เรามารู้จัก แรงเคลื่อนไฟฟ้า กันก่อน

แรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือ Electromotive Force (EMF) คือ ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่สร้างขึ้นโดยเซลล์ไฟฟ้าเคมีอย่างแบตเตอรี่ เทอร์โมอิเล็กตริก เทอร์โมคัปเปิล เซลล์แสงอาทิตย์ โฟโตไดโอด เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และหม้อแปลง จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในวงจร

โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้านั้น มีด้วยกันอยู่  4 ประเภท ดังนี้

  1. Electromagnetic field meter (EMF Meter) หรือ เครื่องวัดค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดหาค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในเครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ 

  1. มัลติมิเตอร์ (Multimeter)

เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดทางไฟฟ้า ที่มีความสามารถในการวัดค่าของไฟฟ้าได้หลายประเภทตามชื่อของมันเลย เช่น การวัดแรงดันไฟฟ้า (Voltage) กระแสไฟฟ้า (Current) ความถี่ไฟฟ้า (Frequency) และความต้านทานไฟฟ้า (Resistance)

  1. แคลมป์มิเตอร์ (Clampmeter)

เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่ใช้ในการเปลี่ยนปริมาณทางไฟฟ้าให้อยู่ในรูปที่เราสัมผัสได้ เช่น ตัวเลขแสดงผล หรือ ให้อยู่ในรูปของเข็มชี้ค่าแสดงผล ซึ่งสามารถตรวจวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยไม่ต้องหยุดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ ตัดไฟในขณะที่ทำการวัด

  1. โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) หรือ เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า (แรงดันไฟฟ้า) ระหว่างจุดสองจุดในวงจร ซึ่งในความจริงแล้วโวลต์มิเตอร์ก็คือ แอมมิเตอร์ (Ammeter) เพราะขณะวัดแรงดันไฟฟ้าในวงจร หรือ แหล่งจ่ายแรงดัน จะต้องมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมิเตอร์เข้ามาก่อน ถึงจะทำให้เข็มมิเตอร์บ่ายเบนไป และการที่กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเข้าโวลต์มิเตอร์ได้ ก็ต้องมีแรงดันไฟฟ้าป้อนเข้ามาก่อนเช่นกัน

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *