แบตเตอรี่ เป็นแหล่งสะสมพลังงานที่เปลี่ยนพลังงานเคมี ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ แบตเตอรี่แห้ง และแบตเตอรี่น้ำ ซึ่งแบตเตอรี่แห้ง เป็นแบตเตอรี่ที่ให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงและแปรผันกลายเป็นพลังงานเคมี เมื่อใช้งานจนพลังงานของแบตเตอรี่หมดไปแล้ว จะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือที่คุ้นหูกันคือ “ ถ่านไฟฉาย “ ซึ่งแตกต่างกับแบตเตอรี่น้ำที่สามารถนำมาบรรจุพลังงานไฟฟ้าใหม่ได้เมื่อใช้หมดไป
ซึ่งในปัจจุบันแบตเตอรี่ชนิดแห้งมักได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากไม่จำเป็นต้องดูแลแบตเตอรี่มากนัก แต่ยังต้องได้รับการฟื้นฟูแบตเตอรี่แห้งด้วยเช่นกัน โดยการซ่อมแบตเตอรี่แห้งหรือการฟื้นฟูแบตฯ สามารถทำได้ดังนี้
- วัดกระแสไฟจากแบตเตอรี่แห้ง โดยอุปกรณ์วัดกระแสไฟฟ้า หากแบตเตอรี่ที่หมดกระแสไฟไปแล้ว เมื่อวัดกระแสไฟจะไม่ขึ้นกระแสไฟ
- ทำการแกะฝาปิดของแบตเตอรี่แห้งขึ้นมา หลังจากนั้นงัดจุกที่ปิดออก จะพบว่าไม่มีของเหลวหรือน้ำที่บรรจุอยู่ภายใน ในกรณีที่แบตเตอรี่แห้งหมดกระแสไฟแล้ว
- ทำการเติมน้ำกรดลงไปในแบตเตอรี่และปิดฝา หลังจากนั้นให้ล้างทำความสะอาดตัวแบตเตอรี่
- ทำการชาร์จไฟเข้าไปในแบตเตอรี่โดยชาร์จกับอุปกรณ์ชาร์จไฟ หรือโซล่าเซลล์เพื่อทำการกระตุ้นกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่
โดยแท้จริงแล้ว แบตเตอรี่ประเภทนี้ไม่ได้แห้งสนิท เพราะแท้จริงของแบตฯ ชนิดนี้ยังคงมีของเหลวอยู่ภายใน ไม่ว่าจะเป็นแบบตะกั่วกรดที่ใช้แคดเมี่ยม และตะกั่วในแผ่นเซลล์หรือพวกที่ใช้สารละลายอัลคาไลน์ ซึ่งข้อดีของแบตเตอรี่แห้ง มีดังนี้
- สามารถดูแลรักษาได้ง่าย
- สะดวก และไม่ยุ่งยากต่อผู้ใช้งาน เนื่องจากไม่ต้องทำการเติมน้ำกลั่น ซึ่งในบางครั้งผู้ใช้งานอาจลืมเติม
- สามารถปล่อยแบตเตอรี่ทิ้งไว้ในสภาพไม่มีไฟประจุได้นานกว่าแบตฯ ประเภทเติมน้ำกลั่น
- แบตเตอรี่ชนิดแห้งมีค่าแอมป์ และ CCA สูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดน้ำ