สะพานไฟ หรือ Cut out (คัทเอาท์) เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่มีหน้าที่ในการตัดต่อวงจรไฟฟ้าภายในบ้านหรืออาคาร หากจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ เลยก็คือ สะพานไฟนั้นมีหน้าที่ในการควบคุมไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้าน แต่นอกจากที่มันจะทำหน้าที่ในการควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านแล้ว มันยังมีหน้าที่ในการตัดการจ่ายไฟโดยอัตโนมัติ หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นอย่างไฟฟ้าลัดวงจร, ไฟช็อต, ไฟดูด, ไฟรั่ว, ไฟตก หรือ ไฟเกิน
โดยสะพานไฟนั้นก็มีหลากหลายประเภทให้เราได้เลือกใช้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเรา แต่หลัก ๆ จะมีด้วยกันอยู่ 2 ชนิด ดังนี้
- สะพานไฟแบบ 2 ขั้ว
เป็นสะพานไฟที่เหมาะสำหรับระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส
- สะพานไฟแบบ 3 ขั้ว
เป็นสะพานไฟที่เหมาะสำหรับระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส
ซึ่งส่วนประกอบหลัก ๆ ที่สำคัญของสะพานไฟนั้น จะมีด้วยกันอยู่ 4 ส่วน ได้แก่
- คันโยก
มีหน้าที่ไว้สำหรับ เปิด – ปิด วงจรไฟฟ้า
- ฟิวส์
มีหน้าที่ในการตัดไฟฟ้าภายในสถานที่ที่มีการใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไม่ให้เกิดไฟฟ้าช็อตหรือไฟดูดได้ต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งฟิวส์นั้นสามารถแบ่งได้หลากหลายประเภท แต่หลัก ๆ จะมีด้วยกันอยู่ 5 ประเภท ดังนี้
2.1) ฟิวส์ก้ามปู
2.2) ฟิวส์เส้นลวด
2.3) ฟิวส์กระเบื้อง
2.4) ฟิวส์หลอดแก้ว
2.5) ฟิวส์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
- ฉนวนกระเบื้อง
เป็นฉนวนไว้สำหรับป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลผ่านในส่วนที่มีฟิวส์ติดอยู่ ซึ่งส่วนนี้จะอยู่ติดกับผนัง
- ฉนวนพลาสติก
เป็นฝาครอบของสะพานไฟ
- สายไฟ
มีหน้าที่ในการส่งกระแสไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยกระแสไฟฟ้าจะนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
- แผ่นทองแดง
มีหน้าที่ในการนำไฟฟ้าเข้าสู่ตัวบ้านหรืออาคาร และเป็นขั้วระหว่างคันโยกกับตัวนำไฟฟ้าที่ส่งเข้าสู่บ้านหรืออาคาร