บัสบาร์ หรือตัวนำไฟฟ้า มี 3 แบบ ดังนี้
- บัสบาร์ทองแดง ต้องมีความบริสุทธิ์ของทองแดงไม่น้อยกว่า 98 %
- บัสบาร์อะลูมิเนียม ต้องมีความบริสุทธิ์ของอะลูมิเนียมไม่น้อยกว่า 98 %
- บัสเวย์ หรือ บัสดัก ต้องเป็นชนิดที่ประกอบสำเร็จรูปจากผู้ผลิต และได้มีการทดสอบมาตรฐานแล้ว
บัสบาร์ส่วนใหญ่เป็นบัสบาร์ทองแดง โดยจะมีสี เพื่อสะดวกต่อการตรวจเช็ค มีดังนี้
- สีแดง แทน เฟส R
- สีเหลือง แทน เฟส S
- สีน้ำเงิน แทน เฟส T
โดยมีการติดตั้งบัสบาร์ดังนี้ การต่อบัสบาร์ทองแดง สามารถทำได้โดยการใช้น็อต, การจับยึด, การใช้หมุด, การบัดกรี หรือการเชื่อม
ซึ่งการต่อจุดต่อด้วยการเชื่อมบัสบาร์ทองแดงนั้น มีข้อดีคือทำให้กระแสไฟฟ้าไหลสม่ำเสมอ และความสามารถในการนำกระแส ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากจุดต่อเป็นตัวนำทองแดง
- วิธีการต่อบัสบาร์ทองแดงโดยการใช้น็อต
- ข้อดี เป็นวิธีที่กระชับและเชื่อถือได้
- ข้อเสีย คือต้องเจาะรูลงไปในบาร์เพื่อใส่น็อต จะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนในเส้นทางการนำกระแส จุดต่อแบบนี้จะทำให้เกิดแรงที่จุดสัมผัสไม่สม่ำเสมอมากกว่าการใช้แผ่นจับยึด
- วิธีการต่อบัสบาร์โดยการใช้ตัวจับยึด
- ข้อดี สามารถทำได้ง่ายโดยพื้นที่หน้าตัดไม่เสียหาย มวลที่เพิ่มขึ้นจะช่วยในการระบายความร้อนที่จุดต่อ และการออกแบบตัวจับยึดที่ดีจะทำให้เกิดแรงแบบสม่ำเสมอที่จุดสัมผัส วิธีการต่อบัสบาร์วิธีนี้ง่ายต่อการติดตั้งส่วน
- ข้อเสีย ราคาแพง
- วิธีการต่อบัสบาร์โดยการใช้หมุดยึด
- ข้อดี มีประสิทธิภาพสูง
- ข้อเสีย คือถอดหรือทำให้แน่นได้ยาก และการติดตั้งทำได้ไม่สะดวก
- วิธีการต่อบัสบาร์โดยการบัดกรี มีใช้น้อยมากสำหรับบัสบาร์ นอกจากต้องเสริมด้วยน็อตหรือตัวจับยึด เนื่องจากความร้อนจากการลัดวงจรจะทำให้เกิดสภาพทางไฟฟ้าและทางกลไม่ดี