วิธีการเลือกและหลักคำนวณขนาดบัสบาร์

บัสบาร์ (ฺBusbar) คือ ส่วนที่จะทำหน้าที่เชื่อมต่อทางไฟฟ้าระหว่างสายประธาน และสายป้อนบัสบาร์ ส่วนมากจะทำจากทองแดงที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก เนื่องจากต้องนำกระแสปริมาณมาก ๆ เสมอ และเพื่อความปลอดภัยต้องหุ้มฉนวนที่ขั้วต่อทางไฟฟ้าด้วยเสมอ 

ขนาดของบัสบาร์ เส้นศูนย์ให้มีขนาดเท่ากับเส้นเฟสหรือตามกำหนดขนาดบัสบาร์เส้นดินให้ใช้ทองแดงที่สามารถรับกระแสได้ไม่น้อยกว่า 2% ของเส้นเฟส แต่ทั้งนี้ Main Bus Bar ทั้งเส้นเฟส

หลักการคำนวณขนาดของบัสบาร์ หรือ ตัวนำไฟฟ้า ทำได้ดังนี้

1) พิจารณาอุณหภูมิสภาวะแวดล้อมในการทำงาน

2) กำหนดค่าความหนาแน่นของกระแสที่ 8 Amp/mm2

3) หาขนาดมาตรฐานผลิตใกล้เคียงโดยประมาณ

4) คำนวณอุณหภูมิความร้อน ที่เกิดจากกระแส

5) คำนวณอุณหภูมิความร้อน ที่สูญเสียจากงาน

6) คำนวณค่าข้อ 4 เปรียบเทียบข้อ 5

  • ข้อ 4 >5 เพิ่มขนาด Busbar แล้วคำนวณใหม่
  • คำนวณจนค่า ข้อ 4 ≤ 5 จึงถือว่าใช้ได้

โดยวิธีการเลือกบัสบาร์ ทำได้ดังนี้

  1. กรณีที่เป็นบัสบาร์แบบ Flat ควรขนานกันไม่เกิน 4 แท่ง ถ้าเกินกว่า 4 แท่งอาจก่อให้ปัญหา Skin Effect ได้
  2. ในกรณีที่เป็นบัสบาร์แบบทาสี สีที่ใช้ทาเคลือบบัสบาร์ ควรมีสัมประสิทธิ์การระบายความร้อนสูงประมาณ 0.9
  3. การเลือกบัสบาร์ควรเลือกที่มีความต้านทานต่ำ และความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง
  4. ควรเลือกที่มีความต้านทานต่อ Fatigue Failure สูง และความต้านทานของ ของ Surface Film ต่ำ

ผู้เขียน : ฐิติรัตน์ ทองคำชุม

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *