การใช้ไฟฟ้านั้นสิ่งสำคัญคือ ควรคำนึงถึงการใช้งานและความเหมาะสม ซึ่งหลัก ๆ แล้วชนิดของไฟฟ้านั้นจะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- ไฟฟ้าสถิต ( Static Electricity ) คือ ไฟฟ้าที่ได้จากการเสียดสี เมื่อนำเอาวัตถุบางอย่างมาถูกันจะทำให้เกิดพลังงานขึ้น เช่น การนำเอาแท่งยางแข็งถูกับผ้าสักหลาด หรือพลังงานที่เกิดขึ้นจะถูกเรียกว่า ประจุไฟฟ้าสถิต เมื่อเกิดประจุไฟฟ้าแล้ว วัตถุนั้นจะเก็บประจุไฟฟ้าไว้ภายใน และจะถ่ายเทไปจนหมด หากเป็นวัตถุที่ต่อลงจะยิ่งทำให้คายประจุได้อย่างรวดเร็ว และในวันที่มีอากาศแห้งก็จะทำให้เกิดประจุไฟฟ้าได้มากกว่าปกติ ซึ่งทำให้สามารถดูดวัตถุจากระยะทางไกล ๆ ได้ดี โดยประจุที่เกิดขึ้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ประจุบวกและประจุลบ ซึ่งจะมีคุณสมบัติคือ ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันจะผลักกัน ประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันจะดูดกัน
- ไฟฟ้ากระแส ( Current Electricity ) คือ การไหลของอิเล็กตรอนภายในตัวนำไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เช่น ไหลจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าไปสู่แหล่งที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้า หรือการไหลผ่านลวด จะมีความต้านทานสูงและก่อให้เกิดความร้อน ซึ่งจะนำหลักการเหล่านี้ใช้กับการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เตาหุงต้ม เตารีดไฟฟ้า เป็นต้น และหากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสารประกอบทางเคมีจะเกิดการแยกของธาตุขึ้น ซึ่งหลักการนี้นำมาใช้กับการชุบโลหะ โครเมียม นิกเกิล ทองแดง ทอง และใช้ในการเตรียมก๊าซ เป็นต้น ซึ่งไฟฟ้ากระแสนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ไฟฟ้ากระแสตรง ( Direct Current หรือ D.C. ) เป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปในทิศทางเดียวตลอดระยะเวลาภายในวงจร และมีค่าแรงดันหรือแรงเคลื่อนเป็นบวกอยู่เสมอ อีกทั้งยังสามารถเก็บประจุไว้ในเซลล์หรือแบตเตอรี่ได้ เช่นนี้ ถ่าน – ไฟฉาย ไดนาโม ดีซี เยนเนอเรเตอร์ เป็นต้น
- ไฟฟ้ากระแสสลับ ( Alternating Current หรือ A.C. ) เป็นไฟฟ้าที่มีการไหลกลับไป กลับมาภายในวงจร ขนาดของกระแสและแรงดัน จะไม่คงที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คือ กระแสจะไหลไปทางหนึ่งก่อน ต่อมาก็จะไหลสวนกลับแล้วก็เริ่มไหลเหมือนครั้งแรก ซึ่งทำให้สามารถส่งกระแสไปในระยะไกลได้ดี และสามารถแปลงแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ตามต้องการโดยการใช้หม้อแปลง (Transformer)