สายล่อฟ้า

สายล่อฟ้า เกิดจากแนวคิดและการทดลองของ เบนจามิน แฟรงคลิน ด้วยการทดลองและสังเกต โดยการเอาเหล็กแหลมมาเสียบบรรจุไว้ในภาชนะทรงกลม จากนั้นก็เอาการทดลองดังกล่าวมาพัฒนาเป็นสายล่อฟ้า ซึ่งจะทำหน้าที่ดึงสายฟ้าลงมาที่ตัวมัน ก่อนจะถ่ายพลังงานสายฟ้าดังกล่าวลงไปในดิน เพื่อลดแรงกระแทก และการทำลายของสายฟ้านั้นไป 

ปัจจุบันสายล่อฟ้ามีหลายแบบขึ้นอยู่กับการใช้งานและพื้นที่ที่จะใช้งาน 

  1. แบบ Franklin – rod มีลักษณะเป็นแท่ง มียอดแหลม 4 ยอด วิธีการทำงาน คือให้สายฟ้าลงมาที่ปลายยอด จากนั้นสายไฟจะวิ่งไปตามสายดิน ที่ฝังไว้เพื่อสลายพลังงานดังกล่าว 
  2. เสาล่อฟ้าแบบ ESE สายล่อฟ้าแบบนี้จะมีลักษณะเหมือนหัวกระสวยเป็นเหล็กปลายแหลม คล้ายกับหัวกระสุน จุดเด่นของมันอยู่ที่ตรงปลายหัวที่จะมีการอาบสารกัมมันตรังสีบางอย่าง เพื่อให้เกิดการ “ล่อ” สายฟ้าลงมาที่หัวได้มากกว่าเดิม ที่ต้องทำแบบนี้เพื่อป้องกันไม่ให้สายล่อฟ้าไปตกในจุดที่ไม่ต้องการ
  3. Dissipation array การทำงานจะทำหน้าที่เหมือนล่าฟ้าผ่ามากกว่า แนวคิดของสายล่อฟ้าแบบนี้ คือ มันจะทำหน้าที่ถ่ายประจุไฟฟ้าลงไปในดิน เพื่อทำให้ประจุไฟฟ้าต่ำ จนลดโอกาสฟ้าผ่าลงไปตามลำดับ สายไล่ฟ้าแบบนี้จะเป็นเหมือนร่มแบบโปร่งแสง ลักษณะเป็นตาข่ายคล้ายกับใยแมงมุม นิยมใช้กับเสาส่งสัญญาณ แทงค์น้ำมัน ยอดตึก เพื่อลดการเกิดสายล่อฟ้า

ซึ่งการมีสายล่อฟ้านั้นมีประโยชน์อย่างมากในการที่จะช่วยลดโอกาสที่ฟ้าผ่าลงไปในพื้นที่ที่ไม่ต้องการ อย่างเช่น อาคารสูง เสาสัญญาณโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งหากฟ้าผ่าลงไปอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุและการสูญเสียตามมาได้

ผู้เขียน : หฤทธิ์ ล้อทองพานิชย์

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *