การค้นพบไฟฟ้าเริ่มมาจากเมื่อ 600 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นการค้นพบไฟฟ้าสถิตจากแท่งอำพันของเทลีส เขาได้ให้ข้อสังเกตว่าเมื่อนำแท่งอำพันถูกับผ้าขนสัตว์ แล้ววางแท่งอำพันไว้ใกล้กับวัตถุชิ้นเล็ก ๆ เช่น เศษไม้ จะทำให้เศษไม้เคลื่อนที่เข้าหาแท่งอำพัน นั่นคือแท่งอำพันจะมีอำนาจอย่างหนึ่งที่ดึงดูดวัตถุได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2143 วิลเลี่ยม กิลเบิร์ต William Gilbert นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการศึกษาและทดลองผลที่เกิดจากการขัดสีแท่งอำพันอย่างละเอียด พบว่ามีคุณสมบัติของการดึงดูดวัตถุเล็ก ๆ หลังจากการขัดสี และเรียกในเขาจึงให้ชื่อว่า Electricus หรือในภาษาอังกฤษคือ Electric/Electricity และในภาษาไทยที่แปลว่า ไฟฟ้า นั่นเอง
และในปี พ.ศ.2295 การค้นพบครั้งสำคัญของ เบนจามิน แฟรงคลิน โดยได้ทำการทดลองติดลูกกุญแจโลหะไว้ที่หางว่าว แล้วปล่อยลอยขึ้นในวันที่ท้องฟ้ามีลมพายุรุนแรง เขาพบว่า ประกายไฟกระโดดจากลูกกุญแจโลหะสู่หลังมือของเขา ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบไฟฟ้าในธรรมชาติ ซึ่งการค้นพบนี้ถูกนำมาใช้ในปัจจุบันที่เรียกกันว่า สายล่อฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยชีวิตผู้คนไม่ให้ถูกฟ้าผ่า
จากนั้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 มีการค้นพบ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Generator) ซึ่งทำมาจากชั้นที่สลับซ้อนกันของสังกะสีและทองแดง เป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์ว่าเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ และภายในปี พ.ศ. 2364 ไมเคิล ฟาราเดย์ได้ประดิษฐ์มอเตอร์ไฟฟ้า (ไดนาโม) และจอร์จ ไซมอน โอห์ม ได้ใช้คณิตศาสตร์วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ “กฎของโอห์ม” ในปี พ.ศ. 2370 นับแต่นั้นเป็นต้นมา วิทยาศาสตร์ด้านไฟฟ้าเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นความก้าวหน้าของวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างมาก และเป็นแรงสำคัญในการเป็นแรงขับเคลื่อนในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2